โรคร้ายที่แฝงตัวกับ โรคความดันโลหิตสูง

โรคร้ายที่แฝงตัวมากับ โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิต (blood pressure)

ความดันโลหิต (blood pressure)  หมายถึง  แรงดันภายในหลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดจากการที่หัวใจบีบตัวฉีดเลือดที่มีออกซิเจนและสารอื่นๆ เข้าสู่หลอดเลือดแดง เพื่อดันเลือดให้กระจายไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งสามารถวัดค่าได้ 2 ค่า คือ

  • ค่าสูงสุดของแรงดันโลหิตหรือ ความดันซิสโตลิก (systolic blood pressure)  ซึ่งเป็นค่าวัดได้ขณะที่หัวใจบีบเลือดเข้าสู่หลอดเลือดแดง ระดับที่เหมาะสมของค่านี้ คือ น้อยกว่า 120 มิลลิเมตรปรอท
  • ค่าต่ำสุดของแรงดันโลหิต หรือความดันไดแอสโตลิก (diastolic blood pressure) เป็นค่าที่วัดในขณะที่หัวใจหยุดพักการบีบตัว ระดับค่าที่เหมาะสม คือ น้อยกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท ในการวัดความดันโลหิตจะแสดงค่าทั้งสองส่วน โดยเขียนค่าความดันสูงสุดก่อนแล้วตามด้วยความดันต่ำสุด เช่น 120/80 มิลลิปรอท เป็นต้น ค่าความดันโลหิตทั้งสองค่าอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามเพศ อายุ เชื้อชาติ ภาวะเจ็บป่วย ความเครียด น้ำหนักตัว รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น โกรธ ตกใจ ตื่นเต้น เป็นต้น (พันธนันท์ , 2555)

ส่วน ความดันโลหิตสูง (Highpertension หรือ high blood pressure) หมายถึง ภาวะที่ความดันโลหิตช่วงบนหรือความดันซิสโตลิก มีค่าตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และ ความดันโลหิต ช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ซึ่งระดับค่าความดันโลหิตนั้นต้องสูงเกินปกติตลอดเวลาไม่ใช่เพียงชั่วคราว ความรุนแรงของความดันโลหิตสูงพิจารณาจากค่าความดันทั้งสองค่า คือ ความดันซิสโตลิก (systolic blood pressure) และ ความดันไดแอสโตลิก (diastolic blood pressure)  cr.honestdocs.co

โรคร้ายที่แฝงตัวกับ โรคความดันโลหิตสูง

โรคร้ายจาก โรคความดันโลหิตสูง

มีหลายครั้งที่ผู้เป็น โรคความดันโลหิตสูง ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จนนำไปสู่การเสียชีวิตมาดูกันว่า หากคุณไม่รีบรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จะมีโรคร้ายอะไรที่ถามหาคุณได้บ้าง

1.โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยสำคัญให้เกิด โรคหลอดเลือดสมอง ในปี พ.ศ. 2557 มีรายงานว่า คนไทยเป็น โรคหลอดเลือดสมองมากถึง 4,825,452 คน ซึ่งโรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 2 ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง รองจากอายุ และ ความรู้ความเข้าใจในโรค ความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง แบ่งเป็น 2 แบบ คือ

  • หลอดเลือดสมองตีบ หรือตัน (Ischemic Stroke) ปกติหลอดเลือด ที่สมองก็เหมือนหลอดเลือดทั่วไปในร่างกายที่ลำเลียงเลือด ไปเลี้ยงทุกที่ของสมอง ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงมานานหลายปี ความแข็งแรงของหลอดเลือดแดง ย่อมถูกทำลาย เมื่อน้ำเลือดที่ไหลผ่านหลอดเลือดด้วยความเร็ว และ แรงจะเกิดแรงเฉือน จากการไกลของเลือด เฉือนผนังหลอดเลือดจนเผยอเป็นแผล เหมือนใช้มีดเฉือน ยิ่งความดันโลหิตสูง ก็เท่ากับว่า หัวใจบีบตัวหนักและเร็ว ซึ่งมีผลทำให้เลือดไหลเร็ว และแรงขึ้น
  • หลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) โรคหลอดเลือดสมองแตกนี้ เกิดจากความดันโลหิตสูง ที่ทำให้น้ำเลือดไหลเร็ว และ แรงเช่นกัน แต่หลอดเลือดยังพอทนไหวอยู่ จึงพยายามปรับตัวโดยการโป่งออกเป็นกระเปาะ แรงดันนี้ตั้งฉากกับผนังเหมือนคนยืนเรียงแถวดันผนังห้อง นานวันเข้าผนังหลอดเลือดจะโป่งออกเป็นกระเปาะกลมๆ จนในที่สุดก็แตก เลือดไหลทะลักออกมา หรือที่เรียกว่า “เลือดออกในสมอง” จากนั้นปริมาณเลือด ที่มาเลี้ยงสมองจะลดลงอย่างเฉียบพลัน และ อาจเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว

2.โรคหลอดเลือดสมองหัวใจตีบ (Ischemic Heart Disease)

คือ การเกิดหัวใจขาดเลือด ลักษณะการเกิดเหมือนกับโรคหลอดเลือดสมองตีบ เพียงแต่หลอดเลือดที่ตีบตัน คือหลอดเลือดเล็กๆ ของหัวใจสัญญาณเตือนแรกของโรค คือ เจ็บแน่นหน้าอก หรือแน่นไปถึงกราม หรือแขนซ้าย อาจหายใจติดขัด เหงื่อแตก ซีด คลื่นไส้ อาเจียน ตื่นตัว กังวล สัญญาณเตือนเหล่านี้ มักเกิดขึ้นเวลาเครียด หรือออกกำลังกายหนัก แต่พอพัก หรือหายเครียดสัก 20 นาทีก็หายเป็นปกติ แน่นอนว่ามันคือ “การเตือน” แต่หาก 20 นาทีผ่านไปแล้ว ยังไม่หายต้องรีบไปโรงพยาบาลทันทีไม่เช่นนั้นจะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

3.โรคกล้ามเนื้อหัวใจโต

หัวใจของเราเป็นก้อนกล้ามเนื้อที่คอยบีบ – คาย – บีบ – คาย ให้เลือดไหลเวียน หัวใจห้องล่างซ้ายเป็นห้องสุดท้ายที่บีบเลือดส่งไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ยิ่งความดันโลหิตสูง หัวใจห้องนี้ยิ่งออกแรงบีบเยอะเหมือนเล่นกล้ามเพาะกาย ในที่สุดกล้ามเนื้อหัวใจห้องนี้จะโต ผลเสียคือ มีปริมาตรรับเลือดดีน้อยลงจนหัวใจล้มเหลวในที่สุด  อาการส่วนใหญ่เป็นอาการจากความดันโลหิตสูง

  • ปวดหัว เวียนหัว
  • มึนงง
  • ตามัว
  • อาการจากภาวะแทรกซ้อม เช่น เหนื่อยง่ายกว่าปกติ

4.โรคไตเรื้อรัง

หลอดเลือดที่มาเลี้ยงไตตีบลดลง 70% เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ความดันโลหิตยิ่งสูง ยิ่งตีบ ดังนั้น ถ้าความดันโลหิตยังไม่สูงมาก แพทย์ก็อาจไม่นึกถึงโรคนี้ หรือส่งตรวจให้เสียเงินเปล่า ๆ  cr.หนังสือ “เราจะไม่เป็นความดันโลหิตสูงในชาตินี้”

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคความดันสูงและลดไขมันในเลือดด้วยตัวเอง เราสามารถปรับที่พฤติกรรมการใช้ชีวิตและเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ได้แก่

  1. บริโภคอาหารตามหลัก DASH diet คือ ลดการใช้น้ำมันทอดอาหาร ลดการเติมเกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว ผงชูรส ในอาหาร เนื่องจากมีโซเดียมสูง ทำให้ความดันสูงขึ้น
  2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เฉลี่ยสัปดาห์ละ 150 นาทีขึ้นไป (ขั้นต่ำ 30นาทีต่อครั้ง)
  3. รับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีโอเมกา 3 6 9 ในสัดส่วนที่เหมาะสม ซึ่งมีการวิจัยยืนยันว่าช่วยปรับสมดุลหลอดเลือด ลดไขมันตัวร้าย (LDL) เพิ่มไขมันดี (HDL) ได้จริง
  4. ปล่อยวาง หรือบริหารความเครียดในแต่ละวัน

ทั้งนี้ ในผู้ที่ระดับความดันและไขมันในเลือดสูงมาก ยังจำเป็นต้องใช้ยาตามแพทย์สั่งควบคู่ด้วย

แนะนำผลิตภัณฑ์จากถั่วดาวอินคา

คุณกังวลเรื่องปัญหาสุขภาพอยู่หรือไม่!

สั่งซื้อน้ำมันถั่วดาวอินคา