ORGANOID

ของทอดของมัน – อาหารเสี่ยงที่มากกว่า ความดันสูง

ของมันของทอด มีผลต่อความดันโลหิตสูง

แม้ว่าในปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขไทยได้แบนการนำเข้าและการใช้ “ไขมันทรานส์” (Trans fatty acid) ในอุตสาหกรรมอาหาร* เช่น ขนมทอดกรอบ โดนัทและเบเกอร์ครีม ครีมเทียม ฯลฯ แล้ว เนื่องจากมีการวิจัยยืนยันว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไขมันในเลือดสูง ซึ่งจัดเป็นโรค NCDs (โรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ) ที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรเกือบ 20 ล้านคนต่อปี! แต่คนไทย ก็ยังมีความเสี่ยงต่อภาวะ ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด

รวมถึงภาวะ เส้นเลือดตีบ ทั้งที่สมอง และ หัวใจ เนื่องจากไลฟ์สไตล์ที่ต้องการความเร่งด่วน ทำให้ต้องเผชิญความเครียดทุกวัน ขาดการออกกำลังกาย และ ที่สำคัญคือ พฤติกรรมการทานอาหารปรุงสำเร็จ – อาหารนอกบ้าน (เกิน 50% ของคนไทยทานอาหารนอกบ้าน 2 มื้อต่อวัน) ซึ่งมักเป็นอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด แกงกะทิ อาหาร fast foods ดังที่เห็นได้จากจำนวนร้านอาหารทั่วไปที่มีการจดทะเบียนมากกว่า 1 แสนร้าน และร้าน street foods อีกมากกว่า 3 แสนร้านทั่วไทย

  • การรักษาโรคความดันโลหิตสูงนั้น มีองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การทานยา และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน
  • การคงน้ำหนักร่างกายให้เหมาะสมนั้น สามารถช่วยคุมระดับความดันดันโลหิต และ ช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้  รายงานการศึกษาจากเมโยคลินิก ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่าการลดน้ำหนักเพียง 2-3 กิโลกรัมก็สามารถลดระดับความดันโลหิตให้ต่ำลงได้แล้ว cr. honestdocs.co

ของมันของทอด มีผลต่อความดันโลหิตสูง

นอกจากความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวแล้ว อาหารทอด และ ไขมันสูง ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะ เส้นเลือดหัวใจตีบ ทำให้หัวใจวายเสียชีวิต และ ภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ ที่เป็นเหมือน “ระเบิดเวลา” หากมีความเครียดรุนแรงหรือ ความดันโลหิตสูง เฉียบพลัน จะทำให้ เส้นเลือดในสมองแตกยากต่อการรักษาได้

อย่างไรก็ตาม ในศตวรรษที่ 21 ถือว่าเป็นความท้าทายอย่างมาก ในวงการธุรกิจอาหารและสินค้าเพื่อสุขภาพ เนื่องจากตัวเลขที่ทวีขึ้นของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง NCDs ที่ทำให้เกิดเทรนด์ใหม่คือ “อาหารเพื่อสุขภาพ” หรือ “Functional foods” ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าธุรกิจราว 411.56 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ ในพ.ศ. 2565 ยังต้องเผชิญกับการแข่งขันด้าน “โฆษณา” ของขนมกรุบกรอบ และ fastfoods ที่ทุ่มงบประมาณสูงถึง 9 เท่าในช่วง 20 ปีหลังมานี้ (เพิ่มจาก 1.8 พันล้านบาท เป็น 2 หมื่นล้านบาท)

เราทุกคนจึงควรมี “ภูมิคุ้มกัน” เพื่อการดูแลตัวเองและคนใกล้ชิด ให้ห่างไกลจาก โรคความดันโลหิตสูง และภาวะไขมันในเลือดสูง เพื่อป้องกันโรคร้ายแรงอื่น ๆ ที่จะตามมา ด้วยการบริโภคอาหารตามแนวทางDASH Diet” (แดช ไดเอ็ท) หรือ “Dietary Approaches to Stop Hypertension” ซึ่งเป็นแนวทางที่ U.S. News and World Report ได้จัดอันดับเป็น “แชมป์” ของการป้องกันและรักษาภาวะความดันโลหิตสูง

โดยการควบคุมสัดส่วนไขมันในอาหารไม่ให้เกิน 27 เปอร์เซ็นต์ ของแคลอรี่แต่ละวัน โดยให้มาจากไขมันอิ่มตัว (ไขมันชนิดร้าย) เช่น หนังไก่ มันหมู เนยชีส น้ำมันปาล์ม ฯลฯ ได้ไม่เกิน 6% (แคลอรี่แต่ละวัน ไม่ควรเกิน 2,000 แคลอรี่)

ร่วมกับการทาน “ไขมันชนิดดี” เช่น PUFA (Polyunsaturated fatty acids) หรือ โอเมก้า 3 6 9 จากแหล่งธรรมชาติที่ไร้สารปนเปื้อน เช่น น้ำมันสกัดจากถั่ว และน้ำมันปลา เพื่อลดไขมันในเลือด ซึ่งเป็นไขมันสะสมที่เกิดจากอาหารที่ทานเข้าไป และเสริมด้วย สารสตานอลจากพืช (Plant stanols) เพื่อยับยั้งการดูดซึมไขมันโคเลสเตอรอลจากอาหารใหม่

ทั้งนี้ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีการสกัดสมัยใหม่ จึงทำให้เรามี “ตัวเลือกด้านสุขภาพ” ที่ทรงประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับลดความเสี่ยงของโรคความดันสูง โรคหัวใจ รวมถึงโรคเส้นเลือดสมองตีบ อย่าง สารสกัดน้ำมันจากถั่วดาวอินคา ที่อุดมด้วย โอเมก้า 3 6 9 สารสตานอล วิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีการวิจัยระดับสากลยืนยันว่าสามารถให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจในการลดไขมันในเลือด ลดระดับความดัน และปรับการทำงานของเส้นเลือดให้ปกติขึ้นได้ เมื่อรับประทานอย่างต่อเนื่อง โดยไม่เป็นอันตรายต่อตับและไต

แนะนำผลิตภัณฑ์จากถั่วดาวอินคา

คุณกังวลเรื่องปัญหาสุขภาพอยู่หรือไม่!