โรคความดันสูง – ภัยเงียบไม่เลือกวัย ใกล้ตัวคนไทย

โรคความดันสูง ปัจจุบันคือ โรคเรื้อรัง NCDs หรือ Non-communicable diseases เป็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็น Silent killer (ฆาตกรเงียบ) ที่คร่าชีวิตคนทั่วโลก ถึง 70% (ราว 60 ล้านคนในแต่ละปี) โดยโรค NCDs ครอบคลุ่ม 4 โรคหลัก คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง ทั้งนี้ เมื่อปี 2555 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดเป้าหมาย “9 Global NCD targets” เพื่อให้แต่ละประเทศได้กำหนดนโยบายสาธารณสุขขับเคลื่อนสู่จุดหมายเดียวกัน คือ การลดจำนวนผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs ให้ได้ภายใน พ.ศ.2568

โรคความดันโลหิต ภัยร้ายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

โรคความดันสูง - ภัยเงียบไม่เลือกวัย ใกล้ตัวคนไทย

สำหรับประเทศไทยแล้ว จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ยังพบว่าคนไทยเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรค NCDs ค่อนข้างสูง ประมาณ 350 คน ในทุก ๆ 1 แสนคน (เป้าหมาย คือไม่เกิน 250 คนต่อแสนคน)  และเมื่อโฟกัสที่โรคความดันโลหิตสูงของคนไทย ก็ยังพบตัวเลขที่น่าเป็นห่วง เพราะเพิ่มผู้ป่วยจาก 3.9 ล้านคน มาเป็น 5.6 ล้านคน ในช่วงเวลาเพียง 5 ปี (พ.ศ.2556-2560) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 ปีหลัง ที่มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มขึ้นราว 8 แสนคนในแต่ละปี!

นอกจากนี้ ยังมีการสำรวจพบว่าคนไทยติด “กินเค็ม” ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายบวมน้ำและความดันสูง กล่าวคือ ในวันหนึ่ง ๆ คนไทยได้เกลือ-โซเดียมจากอาหาร เฉลี่ย 3,246 มิลลิกรัม ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมีเป้าหมายให้คนวัย 18 ปีขึ้นไป ได้โซเดียมไม่เกิน 2,434.5 มิลลิกรัมต่อวัน (ลดความเค็มลง 30%) ดังที่เราเห็นแคมเปญรณรงค์ให้ทำอาหารโดย “ลดเค็มครึ่งหนึ่ง” ในช่วงปีที่ผ่านมา เพื่อลดเปอร์เซ็นต์โรคความดันสูง ในกลุ่มคนอายุ 15 ปีขึ้นไป ให้ต่ำกว่า 16% หรือ 16 คน ในทุก ๆ 100 คน (ปัจจุบันอยู่ที่ 24.7%)

โอเมก้า 3 6 9 จากถั่วดาวอินคา
โอเมก้า 3 คือกรดไขมันจำเป็นต่อร่างกายที่ช่วยเสริมสร้างระบบการทำงานต่างๆ ซึ่งแหล่งอาหารที่มีโอเมก้า 3 โดยทั่วไปแล้วในอาหารตามธรรมชาติเช่นปลาและอาหารทะเลถั่วและเมล็ดพืช อ้างอิงข้อมูล:www.honestdocs.co
 

“เหตุใด โรคความดันสูง จึงน่ากลัว?”

มีการวิจัยมากมาย ยืนยันว่าภาวะความดันโลหิตสูง หรือ ความดันสูงมากกว่า 130/90 มิลลิเมตรปรอท* ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ได้แก่

[dt_vc_list]

 

  • ภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ
  • โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด (stroke) จากเส้นเลือดสมองตีบ หรือ ภาวะเส้นเลือดในสมองแตก
  • โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เนื่องจากเส้นเลือดหัวใจตีบ
  • โรคหัวใจล้มเหลว
  • โรคเส้นเลือดตีบตามปลายแขน-ขา (ทำให้รู้สึกชา อ่อนแรง)
  • ภาวะไตวาย
  • โรคจอประสาทตาเสื่อมก่อนวัยอันควร (ตาพร่า มองไม่ชัด)
[/dt_vc_list]

จะเห็นได้ว่าความดันสูง ไม่ใช่ “แค่” ตัวเลข แต่เป็นความเสี่ยงที่ทำให้อัมพฤกษ์-อัมพาต หรือเสียชีวิตได้ตั้งแต่ยังหนุ่มสาว เนื่องคนรุ่นใหม่ มีไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต การกินอาหารหวานมัน และขาดการออกกำลังกาย ซึ่งล้วนเสี่ยงต่อภาวะไขมันในเลือดสูง ซึ่งจะตามมาด้วยโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด เมื่อรวมเข้ากับภาวะ โรคความดันโลหิตสูง ก็จะทำให้โรคแทรกซ้อนข้างต้นทวีความรุนแรงขึ้น

ทั้งนี้ มีผลการวิจัยยืนยันว่า การรับประทานน้ำมันสกัดจากถั่วดาวอินคา (Plukenetia volubilis) ซึ่งอุดมด้วยไขมันดี โอเมกา 3 6 9 วิตามินอี สารไฟโตสเตรอล (Phytosterols) และสารต้านอนุมูลอิสระสูง สามารถลดไขมันในเลือดทั้งแบบค่าไขมันรวม (total cholesterol) และไขมันชนิดร้าย แอลดีแอล (LDL cholesterol) ควบคู่กับการลดระดับความดันโลหิต และเสริมการทำงานของหลอดเลือดให้เป็นปกติ ลดความเสี่ยงต่อภาวะเส้นเลือดแข็ง (Atherosclerosis) ได้ โดยไม่เป็นโทษต่อตับและไต

สารสกัดโอเมกา 3 6 9  จากถั่วดาวอินคา (Plukenetia volubilis) ที่ผลิตจากโรงงานที่มีมาตรฐานสูง และใส่ใจตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ ขั้นตอนการผลิต และ การเก็บรักษา จึงเป็น ตัวเลือกสำหรับคนรุ่นใหม่ ที่ใส่ใจคุณภาพชีวิต และ ต้องการลดความเสี่ยงต่อโรคความดันสูง โรคหัวใจ และ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด

* เป็นเกณฑ์สากลจากสมาคมโรคหัวใจสหรัฐฯ (The American Association) ที่เพิ่งประกาศใหม่เมื่อ พ.ศ.2560 ลดลงจากค่าเดิม 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งคุณสามารถหาซื้อเครื่องวัดความดันแบบพกพาใช้ง่ายที่บ้านจากร้านขายยาชั้นนำ หรือขอวัดความดันได้ฟรีตามคลินิคและโรงพยาบาลใกล้บ้าน

แนะนำผลิตภัณฑ์จากถั่วดาวอินคา

รีวิว Organoid ผู้รับประทานน้ำมันถั่วดาวอินคา