โรคความดันเป็นอีกหนึ่งโรคที่ฆ่าชีวิตของประชากรไปไม่น้อย และคนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนกำลังเป็นโรคนี้
ตะไคร้ นอกจากเป็นพืชผักสวนครัวแล้ว ยังถือเป็นพืชสมุนไพรที่อยู่คู่ครัวบ้านคนไทยมาอย่างยาวนานนอกจากนำมาปรุงอาหารแล้ว รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้ว ภายใต้ต้นแข็ง ๆ และ ใบที่คมของตะไคร้ยังซ่อนคุณประโยชน์เอาไว้มากมายจนคาดไม่ถึง เช่น กลิ่นจากน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวที่เนื่องมาจากความเครียดได้ และ ยังมีสรรพคุณช่วยในการขับปัสสาวะ ขับลม และ ที่สำคัญยังช่วยลดความดันโลหิตได้อีกด้วย ตะไคร้ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cymbopogon citratus จัดเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นกอโดยมีความสูงประมาณ 4 – 6 ฟุต มีลำต้นยาวเรียว อุดมไปด้วยวิตามินและ แร่ธาตุมากมาย
ตะไคร้ ช่วยลดความดันโลหิตได้
อาการของโรคความดันโลหิตสูง
ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดงที่เห็นได้ชัด เนื่องจากความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ทำให้ร่างกาย และหลอดเลือดปรับตัวได้ทัน จึงไม่มีอาการผิดปกติแสดงให้เห็น แต่อาการที่ทำให้ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมาโรงพยาบาลได้แก่
- อาการปวดศีรษะ โดยมักจะปวดมึนๆบางคนปวดตลอดทั้งวัน และ จะปวดมากเวลาถ่ายอุจจาระ หากเป็นมากจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
- เลือดกำเดาไหล
- มึนงง สมองตื้อๆ ตามัว หรือ เห็นภาพซ้อน
- เหนื่อยง่าย บางรายรุนแรงมากอาจจะแน่นหน้าอก หรือ หัวใจขาดเลือดได้
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
- การรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด หรืออาหารที่มีโซเดียมสูง อย่างมาม่า ขนมขบเคี้ยวต่างๆ ผงชูรส รสดี หรือ เครื่องปรุงรสทั้งหลาย ปลาร้า เป็นต้น
- กรรมพันธุ์
- ความอ้วน
- ความผิดปกติต่างๆ ของหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดแดงแข็งขาดความยืดหยุ่น หรือ หลอดเลือดแดงตีบ เป็นต้น
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด และ การใช้สารเสพติด และ บุหรี่
การรักษาเบื้องต้น
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการทานอาหารที่ปรุงน้อยๆ ไม่รสจัด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่เครียด เลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ที่สำคัญเลิก สุรา บุหรี่ และ สารเสพติดทุกชนิด หากต้องรับประทานยา ก็ต้องรับประทานตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ถูกต้อง สม่ำเสมอ และ ต้องไปตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง
สารอาหาร และ ประโยชน์ของตะไคร้
สารอาหาร ตะไคร้ 100 กรัม ให้พลังงาน 126 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย โปรตีน 1.2 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 25.5 กรัม,ไขมัน 2.1 กรัม, วิตามินเอ 427 มิลลิกรัม, วิตามินซี 1 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 2.6 มิลลิกรัม, แคลเซียม 35 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม, ไนอะซีน 2.2 มิลลิกรัม, ไธอะมีน 0.05 มิลลิกรัม, ไลโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม และ กากใยอาหาร 4.2 กรัม
สรรพคุณ และ ข้อควรระวังของตะไคร้
- ช่วยขับปัสสาวะ และ ล้างสารพิษในร่างกาย – ตะไคร้ เป็นสมุนไพรที่ช่วยในการขับปัสสาวะ สำหรับผู้ที่เกิดปัญหาปัสสาวะขัด หรือ ปัสสาวะไม่ออก สามารถรับประทานตะไคร้เพื่อช่วยรักษาอาการดังกล่าวได้ และ ที่สำคัญช่วยลดความดันโลหิตได้อีกด้วย
- บำรุงระบบประสาท – ตะไคร้มีสรรพคุณบำรุงระบบประสาท เสริมสร้างความจำ ซ่อมแซมการทำงานของสมอง ช่วยทำให้สมองไหลลื่น ลดความเครียด ลดความกังวล และ ทำให้อารมณ์ดียิ่งขึ้น
- ทำความสะอาดระบบย่อยอาหาร และ ระบบภายใน – ตะไคร้ จะช่วยทำความสะอาดลำไส้ ลดแก๊สในลำไส้ และ ช่วยให้การย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยชำระล้างพิษจากระบบต่างๆ ภายในเช่น ตับ ตับอ่อน และ ไตทำให้อวัยวะภายในมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้นช่วยให้เจริญอาหารอีกด้วย
การกินตะไคร้เพื่อสุขภาพ และ ช่วยลดความดันโลหิตสูง สามารถทานเป็นอาหาร เช่น ยำตะไคร้ เมี่ยงคำ หรืออาจนำตะไคร้สดทั้งต้นประมาณ 1 กำมือ ทุบ ๆ นำไปต้มกับน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือถ้าไม่สะดวกก็สามารถหาซื้อชาตะไคร้มาดื่มแทนได้เช่นกัน
ข้อควรระวัง
- ทำให้เสี่ยงแท้งได้
- อันตรายกับผู้ป่วยโรคบางชนิด
- หญิงให้นมบุตรไม่ควรทาน
ตะไคร้เป็นพืชผักสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ใส่คู่กับเมนูอาหารจานไหน ก็ทำให้เมนูนั้นๆ ยิ่งทวีรสชาติ และ มีกลิ่นหอมเย้ายวนชวนน่าทาน นอกจากนี้ ประโยชน์ของตะไคร้ยังมีดีต่อสุขภาพอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าการกินตะไคร้ก็มีข้อควรระวังเช่นกัน โดยเฉพาะในคนท้องที่อาจเป็นอันตรายจากการกินตะไคร้ได้ง่าย อ้างอิงข้อมูล:health.kapook,pikool
แนะนำผลิตภัณฑ์จากถั่วดาวอินคา