จอประสาทตาเสื่อมภาวะที่นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น ซึ่งพบได้มากในผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือในพันธุกรรม
เนื่องจากชีวิตประจำวันของเรา ดวงตามักถูกกระทบกระเทือนเป็นอย่างมาก ทั้งในการทำงาน การใช้โทรศัพท์ การดูโทรทัศน์ และ แสงแดด ฉะนั้นการถนอมสายตาเป็นสิ่งที่เราต้องคำนึงถึงเป็นพิเศษ เพราะอาจจะส่งผลต่อการมองเห็นได้ นอกจากการพักผ่อนอย่างเพียงพอ การทานสมุนไพร หรืออาหารบำรุงสายตานั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก
มะขามป้อม (Indian gooseberry) หรือมะขามอินเดีย ผลไม้ ที่มีวิตามินซีสูง ที่ไม่ควรมองข้ามภายใต้รสชาดเปรี้ยวๆ นี้ ซ่อนคุณประโยชน์มากมายจนคิดไม่ถึง มะขามป้อมเต็มไปด้วยวิตามินซี ดีต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จึงเชื่อกันว่ามีฤทธิ์ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ต้านการอักเสบช่วยรักษาโรคหลากหลาย หนึ่งในนั้น คือโรคทางสายตา ถือเป็นพืชที่สำคัญในด้านการแพทย์อายุรเวทแบบดั้งเดิม และ การดูแลสุขภาพหลายแขนงที่มีมานานนับร้อยปี โดยใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของมะขามป้อมแต่ที่นิยมใช้ในการทำยามากที่สุด คือผลมะขามป้อม
จอประสาทตาเสื่อม (Age-Related Macular Degeneration: AMD)
ภาวะที่นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น ซึ่งพบได้มากในผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือในพันธุกรรม มีสาเหตุจากจุดรับภาพตรงกลางของจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งโรคจอประสาทตาเสื่อมเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และ ประเภท จอประสาทตาเป็นส่วนที่อยู่บริเวณหลังสุดของตา เมื่อใช้สายตามองไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง แสงที่กระทบสิ่งของจะส่งผ่านเข้าไปในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าผ่านเส้นประสาทตาไปยังสมอง ซึ่งบริเวณจอประสาทตาจะมีส่วนที่ไวที่สุดของจอประสาทตา คือ แมคูลา ลูเตีย ที่ประกอบไปด้วยเซลล์รับแสงนับล้านที่ช่วยในการมองภาพได้คมชัดยิ่งขึ้น
โรคจอประสาทตาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก
- จอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง พบมากที่สุดประมาณร้อยละ 90% ของผู้ป่วย โรคนี้จะเกิดการสลายตัวของเซลล์ไวแสง ที่จะมีการเสื่อมสลาย หรือบางลงของจุดรับภาพซึ่งจะเป็นการเสื่อมไปตามอายุ ความสามารถในการมองเห็นก็จะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ
- จอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก พบได้ประมาณ 10-15% ของผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อมทั้งหมด แต่มีปัญหาเรื่องของการเกิดความเสียหายที่รวดเร็ว และ เป็นสาเหตุสำคัญหลักที่ทำให้ผู้ป่วยตาบอด ซึ่งเกิดจากมีเส้นเลือดงอกออกมาอยู่ใต้จอประสาทตาแบบผิดปกติทำให้จุดกลางรับภาพเกิดการบวมจึงเป็นเหตุทำให้มองภาพเห็นเป็นภาพที่บิดเบี้ยว จนภาพที่เห็นจะมืดลง และ ดับไป
ความเสี่ยงเกิดโรคจอประสทตา
- อายุผู้ป่วยโรคนี้มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่
- กรรมพันธุ์/พันธุกรรม เพราะพบว่าในฝาแฝดจะเกิดโรคนี้ได้เหมือน ๆ กัน และ พบว่าประมาณ 50% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ จะมีประวัติที่คนในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน
- เผชิญแสงแดดหรือแสงอัลตราไวโอเลตเรื้อรัง โดยไม่มีการป้องกัน
- น้ำหนักเกินมาตรฐาน น้ำหนักตัวที่มากเกินมาตรฐาน อาจทำให้โรคจอประสาทตาเสื่อมมากขึ้น
- สูบบุหรี่ ดื่มสุรา และ การได้รับควันบุหรี่เรื้อรัง เป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคอย่างเห็นได้ชัด
- โรคนี้มักจะเกิดกับผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชาย และ มักจะเกิดกับคนผิวขาวโดยส่วนใหญ่
- ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนที่ไม่ได้รับประทานยาฮอร์โมนก็จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงต่อโรคจอประสาทตาเสื่อมเช่นกัน
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในหลอดเลือดสูง
- สายตาสั้นมากๆ (Pathologic myopia) แต่บางข้อมูลก็ระบุว่าผู้ที่มีสายตายาว (Hyperopia) จะมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากกว่าผู้ที่มีสายตาปกติหรือมีสายตาสั้น
อาการผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อม
- อาการแสดงออกที่แตกต่างกันในคนไข้แต่ละคน และ ยากต่อการสังเกตว่าเป็นหรือไม่เป็นในระยะเริ่มแรก เพราะอาการมักจะออกก็ต่อเมื่อเริ่มเป็นในระยะที่เริ่มรุนแรงแล้ว จึงต้องคอยไปตรวจสายตา เพราะฉะนั้นผู้ที่มีอายุระหว่าง 40-64 ปี ที่ไม่มีอาการผิดปกติในการมองเห็นควรได้รับการตรวจสุขภาพตา / จอประสาทตาทุก 2-4 ปี
- ส่วนผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป แนะนำให้ตรวจทุก 1-2 ปี แม้จะไม่พบอาการผิดปกติอะไรก็ตาม หรือสังเกตดูว่าตาข้างใดเริ่มมีปัญหาหรือไม่ แต่ถ้าเกิดขึ้นในตาทั้ง 2 ข้าง ก็อาจจะรู้สึกถึงอาการได้เร็วกว่าคนที่เป็นแค่ข้างใดข้างหนึ่ง เพราะอาการผิดปกติจะแสดงออกให้เห็นในรูปแบบของการมองเห็นที่ผิดเพี้ยน รูปภาพบิดเบี้ยว ส่วนกลางของรูปจะหายไปมองเห็นแค่รายละเอียดรอบๆ หรือไม่ภาพนั้นก็จะมืดดำไปเลย
การตรวจ และ รักษาโรคจอประสาทตาเสื่อม
- จักษุแพทย์จะตรวจดวงตาโดยใช้ยาหยอดขยายม่านตา และ อุปกรณ์ขยายส่องจอตา (Opthalmoscope) เพื่อดูความผิดปกติของจอประสาทตาด้านหลัง
ทดสอบด้วยตารางชนิดพิเศษ (Amsler Grid) จักษุแพทย์จะให้ผู้ป่วยทดสอบดูตารางชนิดพิเศษ หรือที่เรียกว่า ตารางแอมสเลอร์ ซึ่งตารางนี้มีทั้งเส้นแนวตั้ง และ แนวนอน โดยมีจุดอยู่ตรงกลาง ถ้าผู้ป่วยมอง เห็นเส้นบางเส้นไม่ชัด หรือเส้นจางหายไป แพทย์จะสันนิษฐานว่าผู้ป่วยอาจเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม - ถ่ายภาพจอประสาทตา บางครั้งจักษุแพทย์จะถ่ายภาพจอประสาทตาของผู้ป่วยเพื่อค้นหาว่าส่วนใดเสียหาย ซึ่งการถ่ายภาพจอประสาทตาทำได้หลายวิธี อย่างการใช้กล้องฟันดัส (Fundus) ซึ่งเป็นกล้องสำหรับใช้ถ่ายภาพจอประสาทตาแบบดิจิตอล
เอกซเรย์ตรวจเส้นเลือด (Fluorescein Angiography) ซึ่งทำให้เห็นภาพหลอดเลือดและการไหลเวียนของเลือดอย่างชัดเจน โดยฉีดสีซึ่งเรียกว่าฟลูออเรสเซนเข้าไปในเส้นเลือด ผ่านทางแขนซึ่งสีที่ว่าจะวิ่งผ่านหลอดเลือดไปยังจอประสาทตา แพทย์ถ่ายภาพเก็บไว้เป็นชุดภาพซึ่งจะทำให้เห็นว่าสีที่ฉีดไว้รั่วไหลออกจากหลอดเลือดบริเวณใดบ้างเพื่อระบุชนิดของโรคจอประสาทตาเสื่อมต่อไป
การรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง
- ควรรับการตรวจสุขภาพตา / จอประสาทตาทุก 2-4 ปี และ ติดตามการรักษาตามแพทย์นัดเพื่อประเมินอาการ ความผิดปกติขอจอประสาทตา
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงแสงแดดจ้า สวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ และ พบว่าอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี สังกะสี และลูทีน (Lutein) อาจช่วยชะลอการเสื่อมของจอประสาทตาได้ - การรักษาด้วยเลเซอร์อาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยบางราย
การรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก
- การใช้ยาประเภทยับยั้งการสร้างหลอดเลือดจำพวก เบวาซิซูแมบ อะฟลิเบอร์เสบ แรนิบิซูแมบ ยาอาวาสติน (Avastin) ยาอายลี ยาลูเซนทิส ยามาคูเจน เป็นต้น
- รักษาด้วยโฟโตไดนามิก เป็นการรักษา 2 ขั้นตอนโดยใช้ยาไวต่อแสง ไปทำลายหลอดเลือดที่ผิดปกติ โดยแพทย์จะฉีดยาเข้าไปในกระแสเลือด เพื่อให้ซึมบริเวณที่หลอดเลือดมีความผิดปกติของดวงตา แล้วจึงฉายแสงเลเซอร์เย็นเข้าไปในตา เพื่อกระตุ้นยาให้ทำลายหลอดเลือดที่ผิดปกติอีกทีหนึ่ง
- การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเอาเส้นเลือดเกิดใหม่ออกมา
การป้องกันการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม
- ควรวางคอมพิวเตอร์ในจุดที่เหมาะสม คือวางไว้ข้างหน้าต่าง โดยมีระยะห่างจากตัวเรากับจอคอมพิวเตอร์อยู่ที่ 50-70 ซม. และ จัดหน้าจอไม่ให้สูงหรือว่าต่ำจนเกินไป หากมีอาการตาแห้งก็ควรใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ดวงตา
- สวมแว่นทุกครั้งที่ต้องทำงานหน้าจอคอม โดยเฉพาะแว่นป้องกันสายตาจากแสงสีฟ้าของจอคอมพิวเตอร์ และ สีเลนส์ที่ดีควรออกเป็นสีออกเขียว และ ควรสวมใส่แว่นกันแดดทุกครั้งก่อนออกจากบ้านเมื่อมีแสงแดดจ้า
- ออกกำลังกาย และ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน
*ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาจอประสาทตาเสื่อมให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาดูแลดวงตาเพื่อช่วยป้องกันการสูญเสียการมองเห็นได้ หรือชะลออาการป่วยของโรค*
นอกจากการป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อมที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว การเลือกทานอาหาร หรือสมุนไพรบางชนิดถือเป็นเป็นอีกหนึ่งที่ช่วยป้องกัน และ ชะลอการเกิดโรคได้สมุนไพรชนิดนั้นคือ มะขามป้อม
มองไม่ชัด ภาพเบลอมะขามป้อม บำรุงจอประสาทตาได้
ประโยชน์ของมะขามป้อม มะขามป้อม (Indian gooseberry) เป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกับมะยม เต็มไปด้วยวิตามินซีดีต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โรคทางสายตา แก้อาการเจ็บคอ แก้หวัด มะขามป้อมยังช่วยลดไข้ได้อีกด้วย
- แก้กระหาย หากรู้สึกกระหายน้ำขึ้นมา การทานมะขามป้อมสดจะช่วยลดอาการกระหายน้ำได้
- บรรเทาหวัด ลดอาการเจ็บคอ สรรพคุณที่ดีอย่างหนึ่งของมะขามป้อมคือ ช่วยลดอาการเจ็บคอ ทำให้เสมหะละลาย แก้หวัด เพราะในมะขามป้อมมีสารแทนนิน และ มีวิตามินซีสูง รสเปรี้ยวของมะขามป้อม สามารถละลายเสมหะได้เป็นอย่างดี
- ป้องกันโรคทางสายตา มะขามป้อมมีวิตามินสูง มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม และ ต้อกระจก
- ป้องกันมะเร็ง เชื่อหรือไม่ว่ามะขามป้อม มีสรรพคุณในการต่อต้านมะเร็ง ในมะขามป้อมมีสารรสฝาดที่ชื่อว่า กรดแกลลิค และ สารแทนนิน ซึ่งช่วยยับยั้งการก่อตัวของเซลล์มะเร็ง
- แก้อาการท้องผูก วิตามินซีในมะขามป้อม ช่วยส่งเสริมระบบการขับถ่าย ยางของมะขอมป้อมก็มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น บรรเทาอาการท้องผูก
สารอาหาร และ คุณค่าทางโภชนาการ
มะขามป้อมสด 100 กรัม มีพลังงาน 58 กิโลแคลอรี่ โปรตีน 0.70 แคลเซียม 29 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม ใยอาหาร 2.40 กรัม ไขมัน 0.50 กรัม น้ำ 84.10 กรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 276 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.04 มิลลิกรัม และ ไนอะซิน 0.2 กรัม
- รากมะขามป้อม มี กรดเอลลาจิก และ สารลูพิออล
- เปลือกลำต้น มี สารแทนนิน สารลูพิออล และ สารลูโค เดลฟินิดิน
- ใบมะขามป้อม มี สารแทนนิน กรดมาลิก และ สารลูพิออล
- กิ่งมะขามป้อม มี สารแทนนิน
- เมล็ดมะขามป้อม มีน้ำมันหอมระเหย ฟอสฟาไทด์
- เนื้อมะขามป้อม มี น้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามินซี วิตามินบี3 สารแทนนิน กรดเพ็กทิน และ เกลือแร่ต่างๆ
วิธีรับประทานมะขามป้อมอย่างปลอดภัย
- นำไปประกอบอาหาร หรือเครื่องดื่มได้หลายเมนู เช่น น้ำพริกมะขามป้อม แยมมะขามป้อม น้ำมะขามป้อม มะขามป้อมแช่อิ่ม
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยง เพราะมีสารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ และ หลอดเลือด ทำให้อวัยวะดังกล่าว ต้องทำงานหนักมากยิ่งขึ้น
- โรคเบาหวาน มะขามป้อมมีฤทธิ์ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ถ้าเลือกรับประทานเป็นผลดิบ แต่ทั้งนี้สำหรับใครที่ต้องทานยาป้องกันเบาหวานอยู่แล้ว ควรปรึกษาแพทย์เพราะฤทธิ์ของมะขามป้อมอาจจะขัดขวางการทำงานของยารักษาโรคเบาหวานได้
- ความดันโลหิต ผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิต ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานมะขามป้อมที่อยู่ในรูปของดอง เพราะเกลือที่ใช้ดองมีปริมาณโซเดียมสูง ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อระดับความดันโลหิตให้เพิ่มสูงขึ้น
- หญิงมีครรภ์ และ คุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงที่จะรับประทานมะขามป้อม
- มะขามป้อม อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ สำหรับผู้ป่วยที่มีแผนในการผ่าตัดควรงดกินมะขามป้อม อย่างน้อย 2 สัปดาห์
อ้างอิงข้อมูล: pobpad,beezab,honestdocs