สาเหตุอาการนอนหงาย หายใจไม่สะดวก คืออะไร

การนอนเป็นการพักผ่อนกล้ามเนื้อที่ใช้งานมาตลอดวัน การนอนจึงเป็นท่าที่กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย และเป็นช่วงที่อวัยวะต่างๆ ทำการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ อาการนอนหงาย หายใจไม่สะดวก เกิดขึ้นกับหลายท่าน โดยมีสาเหตุหลายประการ ใครที่เผชิญกับปัญหาการนอนงายหายใจไม่สะดวก สามารถแก้ไขโดยการเปลี่ยนท่านอน และอีกหลากหลายวิธีที่เราจะนำมาแชร์ให้ท่านได้อ่านกัน

 

อาการนอนหงานหายใจไม่สะดวก

ในท่านอนหงายกะบังลมที่คั่นระหว่างช่องอกและช่องท้องจะทับอยู่บนปอด ทำให้การหายใจค่อนข้างลำบากเมื่อเทียบกับท่านั่ง จึงไม่เหมาะสมกับผู้ที่มีโรคปอด ซึ่งควรหลีกเลี่ยงได้โดยยกส่วนบนของร่างกายให้สูงขึ้นในลักษณะครึ่งนอนครึ่งนั่ง โดยใช้หมอน 2-3 ใบวางรองด้านหลังไว้ หรือยกพื้นเตียงส่วนบนให้สูงขึ้น

ผู้ที่ความดันสูงอาจหายใจลำบากในท่านอนหงาย โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหัวใจ การทำงานของหัวใจ จะลำบากในท่านอนหงายราบ เพราะไม่สามารถสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจได้ เกิดภาวะหายใจขัด คนที่เป็นโรคหัวใจมักจะต้องลุกขึ้นนั่งหรือยืน จึงหายใจสะดวกขึ้น

สำหรับผู้ที่เกิดอาการปวดหลังอย่างเฉียบพลัน การนอนหงายในท่าราบทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้นได้ด้วยเช่นกัน

 

อาการหายใจไม่สะดวก หรือหายใจลำบากระหว่างนอนหลับ

  • สาเหตุเกี่ยวกับทางเดินหายใจ อย่างเยื่อบุจมูกบวมทำให้คัดจมูก เป็นภูมิแพ้อากาศหรือภูมิแพ้จมูก เป็นหอบหืด หลอดลมอักเสบเรื้อรัง

  • สาเหตุเกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งอาจมีอาการเจ็บบริเวณหน้าอก หรืออาการบวมร่วมด้วย

  • สาเหตุเกี่ยวกับกล้ามเนื้อทรวงอก ทำให้หายใจไม่สะดวก

  • สาเหตุอื่นๆ อย่างอารมณ์ จิตใจ อย่างความวิตกกังวล หรืออาการแพนิค ก็สามารถทำให้การหายใจติดขัดได้

 

วิธีการบรรเทาอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง

  • ฝึกหายใจขณะออกกำลังกาย การฝึกหายใจเป็นเทคนิคช่วยควบคุมการหายใจในขณะออกกำลังกาย ผู้ที่เผชิญภาวะหายใจไม่อิ่มควรปรึกษาแพทย์ถึงการเลือกวิธีออกกำลังกาย และการฝึกหายใจให้เหมาะสมกับกิจกรรมนั้นๆ โดยควรฝึกหายใจเข้าหรือออกเป็นจังหวะตามท่าออกกำลังกาย และหายใจออกขณะที่ต้องใช้แรงมาก แต่หากเป็นการหายใจขณะออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เช่น เดิน วิ่ง เต้นแอโรบิก ว่ายน้ำ จะแตกต่างจากการหายใจขณะเล่นเวทหรือยกน้ำหนักที่มีจังหวะชัดเจน โดยการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอต้องใช้ออกซิเจนในการหายใจมากขึ้น จึงควรอุ่นเครื่องก่อนทำกิจกรรมเสมอ และควรเริ่มต้นกิจกรรมด้วยการหายใจเข้าและออกอย่างช้า ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอในขณะออกกำลังกาย
  • ผ่อนคลายความเครียด ความเครียดและความวิตกกังวลเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้อาการหายใจไม่อิ่มแย่ลงได้ ผู้ที่เผชิญภาวะเครียดอยู่จึงควรเรียนรู้วิธีรับมือและผ่อนคลายจากปัญหาดังกล่าว เช่น เล่นโยคะ ฟังเพลง ทำสมาธิ พูดคุยกับคนสนิทที่วางใจได้ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เป็นต้น
  • นอนในท่าที่ผ่อนคลาย บางรายอาจมีอาการหายใจไม่อิ่มขณะนอนหลับ ทำให้มีปัญหาการนอนหลับ เช่น การตื่นขึ้นมาบ่อย ๆ ในระหว่างนอนหลับ จึงอาจแก้ปัญหานี้ด้วยการนอนตะแคงหนีบหมอนไว้ระหว่างขาและเพิ่มหมอนหนุนศีรษะให้สูงขึ้น โดยเหยียดหลังให้ตรง หรืออาจนอนหงายเพิ่มหมอนหนุนศีรษะให้สูงขึ้น แล้ววางหมอนรองใต้ขาทั้ง 2 ข้างให้เข่างอขึ้น
  • ดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ผู้ที่น้ำหนักเกินหรืออยู่ในภาวะอ้วน ควรลดน้ำหนัก

แนะนำผลิตภัณฑ์จากถั่วดาวอินคา

"อาการบวมน้ำ" บวมจริงหรือแค่อ้วน!