หน้ามืด อารมณ์แปรปรวน – ขิง ช่วยลดความดัน

โรคความดันเป็นอีกหนึ่งโรคที่ฆ่าชีวิตของประชากรไปไม่น้อย และ คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนกำลังเป็นโรคนี้

เพราะไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าตนเองมีภาวะของโรคมาก่อน บ่อยครั้งจึงเกิดผลเสียโดยไม่ทันได้ป้องกันหรือรับการรักษา แท้จริงแล้วโรคความดันโลหิตไม่ใช่เรื่องไกลตัวแต่อย่างใด การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคความดันเอาไว้ก็จะช่วยทำให้คุณรับมือ และ ป้องกันได้ง่ายขึ้น

 

ความดันโลหิต คืออะไร วิธีวัดความดันโลหิต

“ความดันโลหิต” จริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่มีกันทุกคนอยู่แล้วมัน คือแรงดันที่เกิดขึ้นในหลอดเลือดแดงทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย หากใครที่เคยไปพบหมอ จะสังเกตว่าพยาบาลมักจะทำการตรวจความดันเราก่อนเสมอ ตัวเลขที่เห็นเป็นสิ่งที่คุณเองก็สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายๆ การบอกค่าของความดันโลหิตแพทย์มักจะบอกเป็น 2 ค่า เรียกให้เข้าใจง่ายๆ คือค่าความดันโลหิตตัวบน และ ตัวล่าง

ความดันโลหิต หมายถึง แรงดันของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือดแดงซึ่งเกิดจากการสูบฉีดของหัวใจ (คล้ายแรงลมที่ดันผนังของยางรถเมื่อเราสูบลมเข้า) ซึ่งสามารถวัดได้โดยการใช้เครื่องวัดความดัน (Sphygmomanometer) วัดที่แขน และ มีค่าที่วัดได้ 2 ค่า คือ

  1. ความดันช่วงบน หรือ ความดันซิสโตลี (Systolic blood pressure) หมายถึง แรงดันเลือดในขณะที่หัวใจบีบตัว ซึ่งอาจจะสูงตามอายุ และ ความดันช่วงบนของคนคนเดียวกันอาจมีค่าแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตามท่าของร่างกายการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ และ ปริมาณของการออกกำลังาย
  2. ความดันช่วงล่าง หรือ ความดันไดแอสโตลี (Diastolic blood pressure) หมายถึง แรงดันเลือดในขณะที่หัวใจคลายตัว
    ในปัจจุบันได้มีการกำหนดค่าความดันโลหิตปกติ และ ระดับความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูงสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคความดันสูง และ ลดไขมันในเลือดด้วยตัวเอง เราสามารถปรับที่พฤติกรรมการใช้ชีวิต และ เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ได้แก่

  1. บริโภคอาหารตามหลัก DASH diet คือ ลดการใช้น้ำมันทอดอาหาร ลดการเติมเกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว ผงชูรส ในอาหาร เนื่องจากมีโซเดียมสูง ทำให้ความดันสูงขึ้น
  2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เฉลี่ยสัปดาห์ละ 150 นาทีขึ้นไป (ขั้นต่ำ 30นาทีต่อครั้ง)
  3. รับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีโอเมกา 3 6 9 ในสัดส่วนที่เหมาะสม ซึ่งมีการวิจัยยืนยันว่าช่วยปรับสมดุลหลอดเลือด ลดไขมันตัวร้าย (LDL) เพิ่มไขมันดี (HDL) ได้จริง
  4. ปล่อยวาง หรือบริหารความเครียดในแต่ละวัน ทั้งนี้ ในผู้ที่ระดับความดัน และ ไขมันในเลือดสูงมาก ยังจำเป็นต้องใช้ยาตามแพทย์สั่งควบคู่ด้วย

นอกจากยาแพทย์แผนปัจจุบันที่ใช้ในการรักษาโรคความดันแล้ว กระแสการรักษาโรคด้วยสมุนไพรโบราณนั้น เป็นที่น่าสนใจว่ากำลังกลับมาได้รับความนิยมมากขึ้น ส่งผลให้สมุนไพรบางชนิดที่เกือบสูญพันธุ์ไปแล้วได้กลับมาอีกครั้ง โดยเฉพาะโรคบางโรคที่ต้องอาศัยการรับประทานยาตลอดชีวิต ซึ่งบางครั้งก็ทำให้ผู้ป่วยต้องพยายามหาหนทางรักษาด้วยตนเอง เพราะฉะนั้นการใช้พืชสมุนไพรลดความดันจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ป่วยคาดหวังว่าจะสามารถช่วยลดยาแผนปัจจุบันลงได้ เนื่องจากพืชสมุนไพรเหล่านี้หาง่าย และ ราคาถูกนั่นเอง

ขิง ช่วยลดความดันได้

 

พืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่สามารถนำมารักษาโรคความดันได้นั่นก็ คือ ขิง

ขิง เป็นพืชที่มีรสเผ็ด ส่วนเหง้าจะถูกนำมาประกอบอาหาร และ สกัดทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ นอกเหนือจากเป็นส่วนประกอบในอาหาร ยา หรืออาหารเสริม ขิงยังถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสบู่ และ เครื่องสำอางอีกด้วย

ด้วยหลากประโยชน์การใช้งาน จึงมีคนเชื่อว่าสารเคมีที่อยู่ในขิงอาจช่วยควบคุมความดันโลหิต รักษาปัญหาในระบบการไหลเวียนของเลือด หรือช่วยให้กล้ามเนื้อที่อยู่โดยรอบเส้นเลือดคลายตัวลง

ขิง เป็นยาร้อนเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้เหมือนกับการรับประทานยาลดความดัน ซึ่งมีผลลดความดันโลหิต และ ช่วยลดอาการปวดเมื่อย ปวดข้อ คนที่เป็นนิ่วให้ระวังการรับประทานขิง เพราะจะบีบนิ่วออกมาจากถุงน้ำดีจะทำให้ปวดท้อง และ ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยที่รับประทานยาลดอาการแข็งตัวของหลอดเลือดอยู่ไม่แนะนำให้รับประทานขิง เช่นเดียวกับกระเทียมการรับประทานโดยนำขิงแก่ต้มน้ำรับประทาน

ข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์

ในปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดที่พิสูจน์ได้ว่า ขิงอาจส่งผลทางการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้ จึงควรมีการศึกษาค้นคว้าด้านนี้ต่อไปในอนาคต

ข้อควรระวัง

  • โดยทั่วไป การรับประทานขิงในปริมาณที่พอดีไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย แต่ในบางรายอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น แสบร้อนกลางอก ท้องร่วง อึดอัดไม่สบายท้อง หรืออาจมีความเสี่ยงประจำเดือนมามากกว่าปกติ
  • การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากขิงในปริมาณที่เหมาะสมในระยะสั้นไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ในบางรายอาจเกิดอาการแพ้ และ ระคายเคืองที่ผิวหนัง
  • การบริโภคขิงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะมีเลือดออก เพิ่มระดับอินซูลิน หรือลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้
  • สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ การรับประทานขิงในรูปแบบยาในปริมาณที่เหมาะสมจะไม่ทำให้เกิดอันตราย แต่ผู้ที่ตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ถึงผลดีทางการรักษา และ ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนใช้เสมอ
  • ส่วนผลข้างเคียงของขิงต่อผู้ที่กำลังให้นมบุตรยังคงไม่เป็นที่แน่ชัด แต่การบริโภคขิงอาจส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนเพศ และ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะมีเลือดออก ดังนั้น แม้ยังไม่มีข้อพิสูจน์ทางการแพทย์ที่แน่ชัด ผู้ที่ตั้งครรภ์ และ ผู้ที่กำลังให้นมบุตรควรระมัดระวังความปลอดภัยไว้ก่อน และ อาจพิจารณาหลีกเลี่ยงการบริโภคขิงในระหว่างนี้

ทุกวันนี้ หลักฐานทางการแพทย์เกี่ยวกับประสิทธิผลทางการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงด้วยอาหาร พืช หรือสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ยังคงคลุมเครือ ดังนั้น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควรรับการรักษาจากแพทย์และปฏิบัติตามแนวทางการรักษาอย่างเคร่งครัด หากผู้ป่วยมีข้อสงสัยหรือกำลังตัดสินใจใช้พืชสมุนไพร อาหารเสริม หรือยาชนิดใดในการรักษาบรรเทาอาการป่วย ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ

หากผู้ป่วยมีอาการป่วยที่เป็นสัญญาณอันตราย ควรไปพบแพทย์หรือขอความช่วยเหลือทันที เช่น ปวดหัวรุนแรง วิตกกังวล กระวนกระวายอย่างหนัก หายใจถี่ หายใจไม่อิ่ม เลือดกำเดาไหล เป็นต้น   อ้างอิงจาก pobpad.com

แนะนำผลิตภัณฑ์จากถั่วดาวอินคา

รีวิว Organoid ผู้รับประทานน้ำมันถั่วดาวอินคา