อ้วนลงพุง สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย เสี่ยงคอเลสเตอรอลสูง

คอเลสเตอรอล กินถูกวิธีลดปัจจัยเสี่ยงโรค

แม้ว่าคอเลสเตอรอลจะมีประโยชน์ในด้านการเสริมสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย แต่ถ้ามีมากจนเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีนั้นอาจส่งอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน คอเลสเตอรอลในร่างกายแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่

  • Low-density lipoprotein หรือ LDL คือคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี ทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอลไปยังเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย หากมีคอเลสเตอรอลชนิดนี้มากเกินไป ก็จะทำให้ไปสะสมที่บริเวณผนังหลอดเลือด และอาจทำให้เส้นเลือดแดงอุดตันได้
  • High-density lipoprotein หรือ HDL คือคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีต่อร่างกาย คอเลสเตอรอลส่วนนี้จะช่วยกำจัดคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีหรือคอเลสเตอรอลส่วนเกินกลับไปยังตับ เพื่อขับออกไปจากระบบการทำงานในรูปแบบของเสีย

คอเลสเตอรอล มีทั้งที่มีประโยชน์ถ้าอยู่ในปริมาณที่พอดี แต่ก็เป็นโทษได้หากมีมากจนเกินไป เพราะคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีนั้นอาจจะทำให้เกิดตะกรันในหลอดเลือด และอุดตันเส้นทางที่เลือดไปเลี้ยงหัวใจเสี่ยงเป็นโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ไขมันอุดตันในเส้นเลือด และอาจนำไปสู่สาเหตุการเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต และถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยหลักการ 80% ของคอเลสเตอรอลนั้นร่างกายสามารถผลิตขึ้นมาได้เองจากอวัยวะอย่างเช่น  ตับ ไขสันหลัง สมอง และผนังหลอดเลือดแดง และอีก 20% นั้นมาจากอาหารที่เลือกรับประทานเข้าไป ดังนั้นหลักง่าย ๆ ในการดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้คอเลสเตอรอลสูงเกินไปก็คือการไม่บริโภคไขมันอิ่มตัวมากเกินไป เพราะจะทำให้ตับผลิตคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีออกมามากมาย

 

ปัจจัยเสี่ยงคอเลสเตอรอลสูง - ความเครียด เบาหวาน ความดัน สูบบุหรี่ ไม่ออกกำกลังกาย ทานอาหารรสจัด

10 ปัจจัยเสี่ยงคอเลสเตอรอลสูง

  • การรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง : ในกลุ่มจำพวกเนื้อสัตว์ติดมัน อาหารทอด ไข่แดง อาหารทะเล รวมถึงอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูงเพราะสารจำพวกน้ำตาลสามารถเปลี่ยนและสะสมเป็นไขมันในร่างกายได้
  • การสูบบุหรี่ : เนื่องจากการสูบบุหรี่ทำให้ระดับ HDL ลดลง และเพิ่ม LDL เป็นสาเหตุให้เกิดเส้นเลือดตีบ นำไปสู่โรคอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ เป็นต้น
  • ออกกำลังกายน้อย : ทำให้ตับผลิตคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีได้น้อย
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ : การดื่มแอลกอฮอล์เป็นการทำลายตับ ทำให้สมดุลของระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายผิดปกติ
  • โรคอ้วน : เกิดจากการที่มีไขมันสะสมมากตามเนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ รวมไปถึงไขมันในเส้นเลือด ส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดสูงไปด้วย
  • ความเครียด : มีผลส่งต่อถึงระดับฮอร์โมน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ตับสังเคราะห์ไขมันคอเลสเตอรอลและน้ำตาลเข้าสู่เส้นเลือดได้สูงขึ้น
  • โรคเบาหวาน : ทำให้ระดับน้ำตาลและไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง ซึ่งทำให้ตับผลิตคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีต่ำลง
  • โรคความดันโลหิตสูง : ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
  • โรคตับ : ตับมีหน้าที่ควบคุมระบบการเผาผลาญอาหาร ขจัดและกรองสารพิษออกจากกระแสเลือด ควบคุมการผลิตและการขจัดคอเลสเตอรอล หากตับผิดปกติการผลิตคอเลสเตอรอลก็จผิดปกติตามไปด้วย
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม : ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม ซึ่งเป็นภาวะที่ส่งต่อกันในครอบครัว
 

การตรวจวินิจฉัยคอเลสเตอรอล

ระดับคอเลสเตอรอลสามารถตรวจได้โดยตรงจากการตรวจเลือด ทั้งนี้การตรวจจะรวมอยู่ในการตรวจระดับไขมันในเลือด ซึ่งผลการวินิจฉัยจะบ่งบอกระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี, ชนิดที่ดี และระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในคราวเดียวกัน

ผู้ที่ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยระดับคอเลสเตอรอล

  • มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
  • มีน้ำหนักเกิน หรืออยู่ในภาวะโรคอ้วน
  • มีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือด
  • มีสมาชิกครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม
  • ผู้ตรวจพบโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง
  • มีภาวะโรคอื่น ๆ เช่น โรคไต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ต่อมไทรอยด์ทำงานบกพร่อง

ทั้งนี้ผู้ที่จะตรวจวัดระดับไขมันในเลือดจะต้องงดน้ำและอาหารต่าง ๆ อย่างน้อย 10-12 ชั่วโมงก่อนการตรวจ เพื่อให้มั่นใจว่าระดับไขมันในอาหารจะไม่ส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ของการตรวจ

ระดับคอเลสเตอรอลที่เหมาะสม

ระดับคอเลสเตอรอลทั้งหมด (Total Cholesterol)

  • ปกติ: น้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ระดับคอเลสเตอลชนิดที่ไม่ดี (LDL Cholerterol)

  • ปกติ: น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • สูง: 160-189 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดี (HDL Cholesterol)

  • ปกติ: มากกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • สูง: มากกว่า 60 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

การป้องกันและการรักษาคอเลสเตอรอลสูง

การป้องกันภาวะคอเลสเตอรอลสูงนั้นสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

 

  • งดการทานอาหารที่มีไขมันสูง และอาหารที่มีแป้งสูง
  • ทานผักผลไม้มากๆ เนื่องจากเป็นอาหารที่มีไฟเบอร์สูง จึงช่วยลดการดูดซึมไขมันได้
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
  • เน้นทานไขมันดีให้ได้ปริมาณพอเหมาะ เช่น ปลาทะเล หรือโอเมกา 3 6 9 จากน้ำมันถั่วดาวอินคา เพื่อช่วยให้หัวใจทำงานเป็นปกติ ลดการจับตัวของเกล็ดเลือด และลดความความดันเลือด
  • ทานถั่วเมล็ดแห้งสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ช่วยลด LDL คอเลสเตอรอล
  • ทานผักในตระกูลครูซิเฟอรัสทุกวัน ได้แก่ ผักคะน้า บร็อกโคลี ดอกกะหล่ำ แขนงผัก กะหล่ำปลี ผักกวางตุ้ง เป็นต้น
  • ทานผักที่มีสีสันต่างๆ และผลไม้ให้หลากหลายทุกวัน
  • ผลิตภัณฑ์ข้าวและธัญพืชไม่ขัดสีทุกวัน เช่น ข้าวซ้อมมือ
  • ใช้น้ำมันถั่วดาวอินคา น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว ในการประกอบอาหาร เพื่อเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลที่ดี (HDL) ในเลือด
  • รับประทานผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนย หรือนมขาดไขมันแทนผลิตภัณฑ์นมเต็มไขมัน
  • ควบคุมปริมาณอาหารที่ทานในแต่ละมื้อ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ไม่เกินวันละ 200 กรัม
  • ทานกระเทียมสดเป็นประจำ วันละ 1-11/2 หัว

โอเมกา 3-6-9 สกัดเย็นจากถั่วดาวอินคา

อาหารเสริมโอเมกา 3-6-9 จากถั่วดาวอินคา แบบซอฟท์เจล บรรจุ 60 แคปซูล – กรดไขมันโอเมกา 3,6,9 เป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายช่วยเรื่องระบบการทำไหลเวียนของเลือดให้สะดวก และทำให้หลอดเลือดแข็งแรง ช่วยให้การทำงานของหัวใจให้สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้ดี รายละเอียดสินค้า

เพียงแค่รู้จักควบคุมและเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้อง และออกกำลังกายอยู่สม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ ก็จะช่วยลดปัจจัยเสียงของโรคต่างๆที่มีคอเลสเตอรอล เป็นปัญหาหลักได้แล้ว ลองนำไปปรับใช้ดูนะคะ