เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม – โรค หรือไม่ใช่โรค

อาการเหนื่อยง่าย หอบ จุกเสียดหน้าอก บ่อยๆ อาจจะเป็นเรื่องปกติของหลายๆ จะมากน้อยก็แล้วแต่บุคคล ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคร้ายหรืออาการป่วยที่เป็นอันตราย อาจจะบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ จนสามารถกลับมาหายใจได้ตามปกติด้วยวิธีต่างๆ เช่น ออกกำลังกาย ฝึกเทคนิคการหายใจ หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตอาการที่เกิดขึ้นกับตนเองอยู่เสมอ และ ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการอย่างรุนแรง 

อาการเหนื่อยง่าย เมื่อเราออกกำลังแล้วเหนื่อย ในขณะที่คนปกติอื่นๆ ที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันทำได้สบายโดยไม่มีอาการอะไร ดังนั้นพูดง่ายๆ คือคนอื่นๆ เขาทำได้สบายไม่เหนื่อย แต่เราทำบ้างกลับมีอาการเหนื่อย

เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม โรค หรือไม่ใช่โรค

เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม โรค หรือไม่ใช่โรค
 

อาการ และ สาเหตุเหนื่อยง่ายหายใจไม่อิ่ม

อาการ: ปวดศีรษะ ,อ่อนเพลีย ,ใจสั่น ,เจ็บ แน่นอึดอัดในหน้าอก ,ชารอบปาก ,ชาปลายมือปลายเท้า หรือมีลมในท้อง ,สับสน ,ประสาทหลอน หรือนอนแน่นิ่งเหมือนเป็นลม มาจากปฏิกิริยาลูกโซ่จากการระบายลมหายใจเกิน จึงเกิดอาการชักเกร็ง (tetany หรือ carpopedal spasm) ของมือ และ เท้าอาการเหล่านี้ อาจทุเลาได้เอง ถ้าผู้ป่วยสามารถควบคุมตัวเองอาการเหล่านี้ก็จะเป็นต่อเนื่องอาจนานเป็นชั่วโมงๆ ในรายที่เป็นเรื้อรัง ซึ่งมักมีอาการไม่เด่นชัดแบบรายที่เป็นเฉียบพลัน ถ้าให้ผู้ป่วยหายใจลึก และ เร็ว (นาทีละ 30-40 ครั้ง) ก็มักชักนำให้เกิดอาการมือ และ เท้าจีบเกร็ง และ ถ้าให้หายใจในกรวยกระดาษ อาการต่างๆ ก็มักจะทุเลาได้

 

สาเหตุการเกิดอาการ

  • ภาวะเลือดเป็นกรด ,ช็อก ผู้ป่วยมักมีประวัติเป็นเบาหวาน (แต่ขาดการรักษา) ตกเลือดรุนแรง ท้องเดิน หรืออาเจียนรุนแรง
  • โรคปอดเรื้อรัง โรคถุงลมปอดโป่งพอง ผู้ป่วยมักมีอาการหอบเหนื่อยเวลาออกแรงทำงานหรือเคลื่อนไหวร่างกาย
  • โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดจุกบริเวณยอดอกหรือลิ้นปี่ และ ร้าวขึ้นคอ ขากรรไกร หรือต้นแขน มักพบในผู้ที่เป็นเบาหวาน ความดันเลือดสูง คนอ้วน สูบบุหรี่จัด
  • สำลักสิ่งแปลกปลอม อาหาร หรือเผลอกลืนเมล็ดผลไม้
  • อาการเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย
  • ชอบถอนหายใจถี่ๆ อาจเป็นเพราะติดการถอนหายใจจากการผ่อนคลายความเครียด หรือ เกิดจากจิตใต้สำนึกจากการทำบ่อยๆ  ผู้ป่วยชนิดนี่สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ จากการได้รับยาคลาย
  • เครียดอ่อนๆ โดยเฉพาะเวลานอน หรือ บางรายอาจต้องปรึกษาจิตแพทย์
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (Hypothyroidism)
  • กรดในกระเพาะไหลย้อนกลับ (Gastroesophageal Reflux) และ ท้องอืด
 

ความรุนแรงเมื่อเกิดอาการ

  • ไม่มีอาการหอบเหนื่อย ยกเว้นไปออกกำลังอย่างหนัก
  • มีอาการเหนื่อยเมื่อเดินเร็วๆ บนทางราบหรือเดินขึ้นเขา
  • ต้องเดินบนทางราบได้ช้ากว่าคนปกติที่มีอายุขนาดเดียวกันเพื่อหลีกเลี่ยงเกิดอาการหอบเหนื่อย หรือต้องหยุดพักเพื่อหายใจเมื่อเดินบนทางราบได้ระยะหนึ่ง 
  • ต้องหยุดพักหายใจเพราะเหนื่อย เมื่อเดินได้ประมาณ 100 หลา หรือในราว 2-3 นาที 
  • มีอาการเหนื่อยเมื่อต้องออกจากบ้านหรือเหนื่อยเมื่อสวมหรือถอดเสื้อผ้าออกเอง 

ความเสี่ยงของการเกิดโรค: ไม่แน่ชัด

 

การดูแล ป้องกันตัวเองหากเกิดอาการ

  • ฝึกหายใจขณะออกกำลังกาย การฝึกหายใจเป็นเทคนิคช่วยควบคุมการหายใจในขณะออกกำลังกาย ผู้ที่เผชิญภาวะหายใจไม่อิ่มควรปรึกษาแพทย์ถึงการเลือกวิธีออกกำลังกาย และ การฝึกหายใจให้เหมาะสมกับกิจกรรมนั้นๆ
  • ฝึกหายใจแบบห่อริมฝีปาก ช่วยควบคุมจังหวะการหายใจให้ช้าลง ทำให้สูดหายใจได้ลึกขึ้น ร่างกายสามารถรับออกซิเจนได้อย่างเต็มที่ 
  • ฝึกหายใจด้วยท้อง ช่วยให้กล้ามเนื้อกระบังลมที่อยู่ระหว่างหน้าอก และ ช่องท้องใต้ปอด ทำงานได้ดีขึ้น และ ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น
  • ขับเสมหะออกจากปอด
  • ผ่อนคลายความเครียด และ ความวิตกกังวล เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้อาการหายใจไม่อิ่มแย่ลงได้ 
  • อยู่ในอากาศเย็น ผลจากการวิจัยพบว่าอากาศที่เย็นสบายช่วยบรรเทาอาการหายใจไม่อิ่มให้ดีขึ้นได้
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่หรือบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศ สภาพแวดล้อมเป็นพิษ หรือมีสารที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้
  • เลิกสูบบุหรี่ รวมทั้งหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีควันบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก 
  • ควรลดน้ำหนัก และ ดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • หากอาการไม่ดีขึ้น ควรเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง และ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

 *ข้อปฏิบัติดังนี้ควรศึกษา และ ได้รับการแนะนำอย่างถูกต้องจากแพทย์อย่างเคร่งครัด*

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นอาการหายใจไม่อิ่ม หอบเหนื่อยง่าย อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคอยู่แล้ว และ ผู้ที่ไม่มีโรค เนื่องจากการใช้ชีวิตประจำวัน การรับประทานอาหารในแต่ละวัน ก็สามารถทำให้เกิดอาการได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นร่างกายแข็งแรงไม่ได้รับประกันว่าจะไม่เกิดอาการแบบนี้ได้ อ้างอิงข้อมูล: pobpad,bangkokhospital

แนะนำผลิตภัณฑ์จากถั่วดาวอินคา

รีวิว Organoid ผู้รับประทานน้ำมันถั่วดาวอินคา