โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมา จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ อาการของโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ ปวดศีรษะ, มีเลือดกำเดาไหล, ตามัว และ เหนื่อยง่ายหายใจหอบ เป็นต้น
ค่าความดันเท่าไหร่ ถึงเรียกว่าความดันโลหิตสูง?
- ความดันโลหิตปกติ < 120 และ < 80
- ความดันโลหิตปกติที่ค่อนไปทางสูง 120-129 และ < 80
- ความดันโลหิตสูงระดับที่ 1 130-139 และ/หรือ 80-89
- ความดันโลหิตสูงระดับที่ 2 ≥ 140 และ/หรือ ≥ 90
- ความดันช่วงบนสูงเดี่ยว ≥ 140 และ < 90
ภาวะที่ความดันช่วงบน มีค่าตั้งแต่ 130 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และ/หรือความดันช่วงล่างมีค่าตั้งแต่ 80 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
วิธีลดความดัน
- แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านการรับประทานอาหารเบื้องต้น โดยการเน้นรับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใย ผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ เมล็ดธัญพืช ถั่วต่างๆ
- ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ใหญ่ แป้ง น้ำตาล ของหวาน ไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล
- ลดการบริโภคอาหารเค็มหรือโซเดียม
- งดหรือลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยปรับค่าความดันโลหิตให้ลดลงอยู่ในระดับปกติ
สมุนไพรลดความดัน
- กระเจี๊ยบแดง (Roselle) สามารถลดความดันโลหิตด้วยกลไกการขับปัสสาวะ ผลการศึกษาวิจัยทางคลินิกพบว่าการใช้กระเจี๊ยบแดงแห้ง ขนาด 2 -10 กรัมต่อวัน ต้มเป็นน้ำดื่ม หรือรับประทานในรูปของยาเม็ดกระเจี๊ยบแดง ขนาด 450 มิลลิกรัมต่อวัน
- ขึ้นฉ่าย (Celery) เป็นสมุนไพรที่ชาวเอเชียนำมาใช้เป็นยาลดความดันโลหิตต่อเนื่องกันมายาวนาน การศึกษาวิจัยสารสกัดจากเมล็ดขึ้นฉ่ายกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่าสารสกัดจากเมล็ดขึ้นฉ่ายมีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิต โดยการลดการสะสมของไขมันภายในหลอดเลือดและเพิ่มความยืดหยุ่นของผนังหลอดเลือด
- อบเชย (Cinnamon) มีฤทธิ์ช่วยในเรื่องลดความดันโลหิต ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี นอกจากนี้อบเชยยังมีส่วนช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด และลดระดับน้ำตาลในเลือด จึงเป็นอาหารชั้นเลิศที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วย