โอเมก้าจากพืช VS น้ำมันปลา ต่างกันไหม?

โอเมกาจากพืช ต่างจาก น้ำมันปลา หลายคนอาจผ่านตา “น้ำมันปลา” และ “โอเมกา 3” ทางสื่อโฆษณาต่างๆ มาบ้าง แต่อาจไม่ทราบถึงความแตกต่างระหว่าง โอเมกาจากพืช กับ น้ำมันปลา รวมถึงอาจมีข้อสงสัยว่า โอเมกา 3 6 9 เกี่ยวข้องกับ โรคความดันโลหิตสูง อย่างไร?  ในวันนี้ เราจะมาไขข้อสงสัยเหล่านี้ ด้วยข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักทางการแพทย์กัน

โอเมก้าจากพืช VS น้ำมันปลา ต่างกันอย่างไร

แท้ที่จริงแล้ว โอเมกา 3 ที่เราคุ้นเคยกัน เป็นเพียง 1 ในสาม ของกรดไขมันชนิดดี โอเมกา 3 6 9 ที่จำเป็นต้องได้จากอาหาร (เนื่องจากร่างกายเราสร้างเองไม่ได้) โดย โอเมกา 3 สามารถแยกออกเป็น 3 ชนิดย่อย ๆ คือ

ชนิด ALA, EPA และ DHA ซึ่ง โอเมกา 3 ชนิด ALA เป็น โอเมกาจากพืช ที่ร่างกายจะนำไปใช้สร้าง โอเมกา 3 ชนิด EPA และ DHA ภายในร่างกายส่วนโอเมกา 3 ชนิด EPA และ DHA เราจะได้รับจาก น้ำมันปลา ซึ่งสกัดจากเนื้อและหนังปลารวมถึงการรับประทานปลาน้ำจืดต่างๆ เป็นประจำ

ทั้งนี้ พบว่าน้ำมันปลาจะมีโอเมกา 3 ประมาณ 33% มากกว่า โอเมกาจากพืชส่วนใหญ่ เช่น น้ำมันข้าวโพดและน้ำมันมะกอกที่มีเพียง 1% ส่วน โอเมกา 6 และ โอเมกา 9 นั้น ส่วนใหญ่เราได้รับจากพืช มีอยู่ราว 20-60% ในน้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวันซึ่งสูงกว่าที่ได้จาก น้ำมันปลามาก (4.3%)และแม้ น้ำมันตับปลา จะมีชื่อคล้าย น้ำมันปลา แต่ก็ไม่มีสารกลุ่ม โอเมกา นะคะ การรับประทาน น้ำมันตับปลาจะเป็นการเพิ่มวิตามินเอ (บำรุงนัยน์ตา) และวิตามินดี (บำรุงกระดูก-ฟัน) ให้แก่ร่างกาย

ทั้งนี้ บรรดา โอเมกา 3 6 9 ล้วนทำงานกันเป็น “ทีม” เพื่อรักษาสมดุลร่างกายโดยเฉพาะภายในหลอดเลือด เพราะจะถูกนำไปสร้างฮอร์โมนที่ทำงานด้านการบีบ – ขยายตัวของเส้นเลือด การไหลเวียนเลือด การเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดในเส้นเลือด รวมถึงช่วยลดระดับไขมันชนิดร้ายในเลือดเพื่อป้องกันอาการเส้นเลือดตีบได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โอเมกา 3 และ โอเมกา 6 ที่มีการวิจัยทั่วโลกยืนยันว่าสำคัญต่อการทำงานของระบบหัวใจ และ เส้นเลือด จึงป้องกันความดันโลหิตสูง และ ลดความรุนแรงอาการป่วยใน โรคความดันโลหิตสูง ได้อย่างชัดเจน

ทั้งนี้ แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า โอเมกา 3 สำคัญที่สุด แต่แท้จริงแล้ว ร่างกายคนเราต้องการ โอเมกา 6 ในปริมาณที่มากกว่า โอเมกา 3 เรียกได้ว่า เป็นสัดส่วน 3 ต่อ 1 หรือ 5 ต่อ 1 เลยทีเดียว!

ดังนั้น สำหรับผู้ที่นิยมทำอาหารด้วยตัวเองสามารถได้รับ โอเมกา 6 และ โอเมกา 9 อย่างสม่ำเสมอด้วยการใช้น้ำมันประกอบอาหารชนิดไม่อิ่มตัวที่อุดมด้วย โอเมกา 6 (น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน) และ โอเมกา 9 (น้ำมันคาโนลา มะกอก งา) และ รับประทานปลาอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2 -3 ครั้ง แต่สำหรับคนไทยส่วนใหญ่ ที่มีไลฟ์สไตล์เร่งด่วน และ นิยมการรับประทานอาหารสำเร็จรูป หรืออาหาร fastfoods ที่แม้จะมี โอเมกา 9 สูง แต่ก็ยังขาด โอเมกา 6 ในการรักษาสมดุลร่างกาย!

อย่างไรก็ตาม ด้วยนวัตกรรมการสกัดแบบพิเศษทำให้เราได้ “น้ำมันสกัด” จาก ถั่วดาวอินคา ที่เรียกได้ว่า เป็นพืชธรรมชาติเพียงชนิดเดียว (ไม่มีการตัดต่อพันธุกรรม) ที่อุดมด้วย โอเมกา 3 6 9 อย่างครบถ้วน ในปริมาณ 40.47%, 37.87% และ 9.68 เปอร์เซ็นต์ (ตามลำดับ) หรือกล่าวได้ว่า น้ำมันจากถั่วดาวอินคา มี โอเมกา รวมในปริมาณสูงถึง 88.02 เปอร์เซ็นต์ มากกว่า โอเมกา รวมที่ได้ จาก น้ำมันปลา (37.3%) เกือบ 3 เท่า!

สารสกัดน้ำมันจาก “ถั่วดาวอินคา”  จึงเป็น “ทางเลือกใหม่เพื่อสุขภาพ สำหรับศตวรรษที่ 21” ที่มีการวิจัยนานาชาติ ยืนยันว่าดีต่อโรคความดันโลหิตสูง ช่วยลดระดับความดันโลหิตสูง ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยต่อตับและไต เมื่อรับประทานต่อเนื่องค่ะ

แนะนำผลิตภัณฑ์จากถั่วดาวอินคา