สมองเสื่อมเป็นกลุ่มของอาการที่เกิดขึ้นจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสมอง อาการที่เกิดขึ้นสามารถเกิดได้จากหลายโรค
อาการโรคสมองเสื่อม
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ มีอาการมึนงงสับสน มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด มีการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพและอารมณ์ และ หากโรคดำเนินไปจนถึงระยะสุดท้ายจะมีปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น การเคลื่อนไหวช้าลง ปัสสาวะเล็ด อุจจาระเล็ด เป็นต้น
อาการที่จำเพาะเจาะจงกับโรคอัลไซเมอร์
- การสูญเสียความทรงจำ – โดยเฉพาะความจำสำหรับเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น เช่น การลืมข้อความการจดจำชื่อถนน หรือชื่อคน และ การถามคำถามซ้ำๆ
- ทำงาน และ กิจกรรมที่ต้องใช้การวางแผน และ จัดระเบียบได้ยากลำบากขึ้น
- มีอาการสับสนในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย
- มีปัญหาในการหาคำพูดที่เหมาะสม
- มีปัญหาเกี่ยวกับตัวเลข และ /หรือการจัดการเรื่องการเงินในร้านค้าต่างๆ
- มีการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพ และ อารมณ์ ซึมเศร้า honestdocs.co
โรคสมองเสื่อม ป้องกันด้วยโอเมกา 3-6-9 ถั่วดาวอินคา
ทำไมวัยรุ่น เป็นโรคสมองเสื่อมได้ล่ะ
Dementia หรือโรคสมองเสื่อมเป็นโรคที่ไกลตัวสำหรับคนวัยหนุ่มสาว แต่ทราบหรือไม่ว่า ไม่ต้องรอจนแก่ แม้แต่วัยรุ่นก็อาจเป็นโรคสมองเสื่อมได้ แต่เป็นอาการของภาวะสมองเสื่อมจากการเสพติดโลกดิจิทัลและ อุปกรณ์เทคโนโลยี เช่น สมาร์ทโฟน และ แท็บเล็ต ภาวะนี้คือ Digital Dementia สืบเนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยจดจำสิ่งต่างๆ แทนเราจนทำให้เกิดความเคยชิน เช่น หมายเลขโทรศัพท์ และ อื่นๆ หรือแม้กระทั่งการคิดเลขง่ายๆ บางคนยังต้องเปิดเครื่องคิดเลขในจอโทรศัพท์จิ้มเพื่อความมั่นใจ อ้างอิงจาก : smethailandclub.com
แนวทางการรักษา
การรักษาผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่เหมาะสมในปัจจุบันจะแบ่งตามสาเหตุ และ อาการทั้งนี้การใช้ทั้งยาอาจไม่ใช่ทางเลือกหลักที่เหมาะสมในบางอาการ ในทางการแพทย์จึงได้นำแนวทางบำบัด และ การฟื้นฟูมาใช้ร่วมด้วย
การรักษาด้วยยา
แม้การรักษาจะพบผลข้างเคียงจากการใช้ยา แต่แพทย์ยังจำเป็นต้องใช้กับผู้ป่วยบางราย และ ในส่วนของยาชนิดอื่นๆ แพทย์อาจจ่ายยาที่รักษาอาการ และ ภาวะอื่นๆ เช่น นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย หรือเกิดภาวะซึมเศร้า
- ยากลุ่ม Cholinesterase Inhibitors – ได้แก่ ยากาแลนตามีน (Galantamine) ยาไรวาสติกมีน (Rivastigmine) ยาโดนีพีซิล (Donepezil) ซึ่งมีกลไกการทำงานไปกระตุ้นการรับรู้ที่เกี่ยวกับความทรงจำ และ การตัดสินใจ แม้ยาเหล่านี้จะใช้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์เป็นหลัก แต่แพทย์มักสั่งยาให้กับผู้ป่วยสมองเสื่อมเช่นกัน โดยอาจมีผลข้างเคียง คือคลื่นไส้ อาเจียน และ ท้องเสีย
- ยาเมแมนทีน (Memantine) – ในบางกรณีแพทย์จะจ่ายยานี้ให้พร้อมกับยากลุ่ม Cholinesterase Inhibitors โดยกลไกการทำงานของยาเมแมนทีนจะเป็นการทำงานของสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งในสมอง ซึ่งเกี่ยวกับการทำงานของสมอง เช่น ความทรงจำ และ การเรียนรู้ อาจมีผลข้างเคียงคือทำให้เวียนศีรษะได้
การบำบัด
- ปรับเปลี่ยนการทำงาน – เช่น มีการวางแผน และ จัดเตรียมขั้นตอนการทำงานให้เรียบร้อย จะช่วยให้ผู้ป่วยสมองมีความสับสนน้อยลง
- ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม – จัดข้าวของให้เป็นระเบียบ และ ตัดเสียงรบกวน จะช่วยให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ดีขึ้น
- บำบัดกับนักกิจกรรมบำบัด – มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินต่างๆ เช่น การตกจากที่สูง หรือการควบคุมอารมณ์ โดยนักกิจกรรมบำบัดจะสอนวิธีทางด้านความปลอดภัย และ การจัดการกับอารมณ์หรือพฤติกรรมต่าง ๆ
การป้องกันโรคสมองเสื่อม
- เลิกบุหรี่ – การเลิกบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อม ที่สำคัญทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นได้
- รับประทานอาหารสุขภาพ – จะช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรงอยู่เสมอ ลดโอกาสเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เน้นการรับประทานผักผลไม้ หรืออาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 เช่น ถั่วหรือปลา ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงสมองเสื่อมได้
- ได้รับวิตามิน ดี อย่างเพียงพอ – จากการรับประทานอาหารเสริม หรือจากแสงแดด เนื่องจากการวิจัยพบว่า ผู้ที่มีระดับวิตามิน ดี ต่ำมีโอกาสที่จะเกิดโรคอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อมได้
- ควบคุมน้ำหนัก – รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อลดความเสี่ยงของสมองเสื่อมรวมไปถึงโรคอื่น ๆ
- เพิ่ม EQ ความฉลาดทางอารณ์ – ทำอารมณ์ให้แจ่มใสและเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ เพื่อเป็นการฝึกสมอง ไม่ว่าจะเป็นงานอดิเรก เช่น การอ่านหนังสือ หรือเล่นเกมเสริมทักษะความรู้ต่าง ๆ
- รักษาระดับความดันโลหิต – ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดสมองเสื่อมบางชนิด
- เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม – ที่เป็นการออกกำลังกาย การเข้าร่วมกิจกรรมหรือทำกิจกรรม จะช่วยชะลอการเกิดสมองเสื่อมพร้อมทั้งลดอาการบางอย่างที่เกิดจากสมองเสื่อม หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำให้ได้ 150 นาที ต่อสัปดาห์