โรคสมองเสื่อมผู้สูงอายุ สาเหตุ อาการ การป้องกัน และรักษา

โรคสมองเสื่อมผู้สูงอายุ ป้องกันด้วยโอเมกา 3-6-9 จากถั่วดาวอินคา

อาการโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

เคยรู้สึกมั้ยเวลาหันกลับไปมองคุณพ่อคุณแม่ คุณตาคุณยายของเราทีไร ท่านก็ชราลงไปทุกที ความร่วงโรยตามกาลเวลาเผยชัดออกมามากขึ้นเรื่อยๆ อาการเจ็บป่วยเริ่มสะท้อนออกมาให้เห็น เริ่มเคลื่อนไหวตัวเองช้าลง เริ่มมีอาการนอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย บางท่านอาจจะมีอาการหลงๆลืมๆ กันบ้างแล้ว ภาวะอาการแบบนี้เกิดขึ้นได้กับคนเราทุกคนเมื่อเราสูงวัยขึ้น หรือเรียกว่า ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ (อาการอัลไซเมอร์) มี 10 อาการ ที่ต้องสังเกต ดังนี้

  • หลงลืมบ่อย ๆ จนน่าเป็นห่วง
  • นึกถึงสิ่งที่ได้ทำไปแล้วไม่ออก
  • นึกคำพูดไม่ออก และใช้คำอื่นแทนทำให้ฟังไม่เข้าใจ
  • หลงทางกลับบ้านไม่ถูก
  • แต่งตัวไม่ถูกกาลเทศะ หรือปล่อยเนื้อปล่อยตัวไม่สนใจทำความสะอาด
  • บวกลบเลขง่าย ๆ ไม่ได้หรือจำตัวเลขไม่ได้
  • เก็บข้าวของผิดที่ผิดทางอย่าง ไม่เหมาะสม เช่น เอารองเท้าเก็บในตู้เย็น
  • อารมณ์แปรปรวนอย่างไม่มีเหตุผล
  • บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
  • เฉื่อยชา ขาดชีวิตชีวา

สาเหตุของโรคสมองเสื่อม

สาเหตุของโรคสมองเสื่อม
สมองเสื่อม มีสาเหตุมาจากความเสียหาย หรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสมอง โดยโรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด และสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือด (Vascular Dementia) เป็นสาเหตุรองลงมา Cr: www.pobpad.com

 

ส่วนใหญ่แล้วสมองเสื่อมจะไม่สามารถรักษาให้กลับคืนเป็นปกติได้ และอาการมักเป็นมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

สาเหตุของสมองเสื่อมชนิดที่ไม่สามารถกลับคืนเป็นปกติ ที่พบบ่อยมีดังนี้

  • โรคอัลไซเมอร์ – เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด มักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป
    ผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มาพร้อมอาการทางประสาท (Dementia with Lewy Bodies) สามารถทำให้เสียความทรงจำในระยะสั้น และยังทำให้มีปัญหาในการนอนหลับ อาการประสาทหลอน หรือร่างกายขาดสมดุล
  • สมองเสื่อมชนิด FTD (Frontotemporal Dementia) – อาการที่พบ ผู้ป่วยจะมีบุคลิกที่เปลี่ยนแปลงไป หรือทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น พูดจาหยาบคาย หรือแสดงกริยาที่ไม่เหมาะสมต่อผู้อื่น
  • โรคพาร์กินสัน – เป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมได้เช่นกัน ผู้ป่วยจะมีปัญหาในการเคลื่อนไหว และการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
  • โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด (Vascular Dementia) – มักจะเกิดในผู้ป่วยเป็นโรคสมองขาดเลือด เป็นความดันโลหิตสูงระยะยาว โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)
  • บาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง – อาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับความจำและสมาธิ

สาเหตุของสมองเสื่อมชนิดที่อาจรักษาให้กลับคืนเป็นปกติได้ ที่พบบ่อยมีดังนี้

  • ได้รับสารพิษโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว
  • การขาดวิตามิน บี 12
  • ภาวะขาดไทรอยด์ (Hypothyroidism)
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยา
  • เนื้องอกในสมองบางชนิด
  • ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus)
  • สมองอักเสบ
  • ราเรื้อรัง
  • เอดส์ เอชไอวี (HIV)

โรคอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับสมองเสื่อม

  • โรคฮันติงตัน (Huntington’s Disease) – เป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสื่อมกับระบบประสาทและส่งผลนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม มักจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีอายุประมาณ 30-40 ปี
  • สมองบาดเจ็บ (Traumatic Brain Injury) – เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการที่สมองได้รับบาดเจ็บซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง เช่น เกิดกับนักมวยหรือนักฟุตบอล ซึ่งเป็นภาวะที่สามารถนำไปสู่ สมองเสื่อมได้ เช่น เสียความทรงจำ หรือเกิดภาวะซึมเศร้า
  • โรควัวบ้า (Creutzfeldt-Jakob Disease) – มักเป็นโรคที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ เกิดขึ้นได้จากกรรมพันธุ์หรือการสัมผัสกับโรคสมองหรือเนื้อเยื่อระบบประสาทที่เป็นโรค เช่น เนื้อสมองจากวัวที่เป็นโรค

แนวทางการรักษา

การรักษาผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่เหมาะสมในปัจจุบันจะแบ่งตามสาเหตุ และอาการ ทั้งนี้การใช้ทั้งยาอาจไม่ใช่ทางเลือกหลักที่เหมาะสมในบางอาการ ในทางการแพทย์จึงได้นำแนวทางบำบัด และการฟื้นฟูมาใช้ร่วมด้วย

การรักษาด้วยยา

แม้การรักษาจะพบผลข้างเคียงจากการใช้ยา แต่แพทย์ยังจำเป็นต้องใช้กับผู้ป่วยบางราย และในส่วนของยาชนิดอื่น ๆ แพทย์อาจจ่ายยาที่รักษาอาการและภาวะอื่น ๆ เช่น นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย หรือเกิดภาวะซึมเศร้า

  • ยากลุ่ม Cholinesterase Inhibitors – ได้แก่ ยากาแลนตามีน (Galantamine) ยาไรวาสติกมีน (Rivastigmine) ยาโดนีพีซิล (Donepezil) ซึ่งมีกลไกการทำงานไปกระตุ้นการรับรู้ที่เกี่ยวกับความทรงจำและการตัดสินใจ แม้ยาเหล่านี้จะใช้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์เป็นหลัก แต่แพทย์มักสั่งยาให้กับผู้ป่วยสมองเสื่อมเช่นกัน โดยอาจมีผลข้างเคียง คือ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย
  • ยาเมแมนทีน (Memantine) – ในบางกรณีแพทย์จะจ่ายยานี้ให้พร้อมกับยากลุ่ม Cholinesterase Inhibitors โดยกลไกการทำงานของยาเมแมนทีนจะเป็นการทำงานของสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งในสมอง ซึ่งเกี่ยวกับการทำงานของสมอง เช่น ความทรงจำและการเรียนรู้ อาจมีผลข้างเคียงคือทำให้เวียนศีรษะได้

การบำบัด

  • ปรับเปลี่ยนการทำงาน – เช่น มีการวางแผนและจัดเตรียมขั้นตอนการทำงานให้เรียบร้อย จะช่วยให้ผู้ป่วยสมองมีความสับสนน้อยลง
  • ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม – จัดข้าวของให้เป็นระเบียบและตัดเสียงรบกวน จะช่วยให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ดีขึ้น
  • บำบัดกับนักกิจกรรมบำบัด – มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ เช่น การตกจากที่สูง หรือการควบคุมอารมณ์ โดยนักกิจกรรมบำบัดจะสอนวิธีทางด้านความปลอดภัยและการจัดการกับอารมณ์หรือพฤติกรรมต่าง ๆ

การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะความจำเสื่อม

หากผู้สูงอายุที่บ้านเริ่มเข้าข่ายอาการเหล่านี้ ให้เข้าใจก่อนว่าท่านกำลังป่วย อย่าโกรธ หรือโมโหท่าน แต่ให้ทำความเข้าใจ ไม่พยายามบังคับหรือกระตุ้นให้ท่านหงุดหงิดใจ ให้ความเคารพดูแลเอาใจใส่ หรือพาไปทำกิจกรรมที่เสริมให้สมองได้รับการกระตุ้นไม่ให้เสื่อมเร็วลงไปอีก เช่น จัดสวน, ทำกับข้าว, ประดิษฐ์สิ่งของ, ทำงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ, เลี้ยงสัตว์ และหาอาหารเสริมที่มีประโยชน์บำรุงสมองให้ทาน อย่าง โอเมกา 3,6,9 ที่มีตัวช่วยเสริมในการบำรุงประสาทและสมอง

ประโยชน์ของโอเมกา 3-6-9
ประโยชน์ของโอเมกา 3-6-9 ทดลองกับผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมเป็นเวลา 6 เดือน มีอาการที่ดีขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ DHA โอเมกา 3 อย่างเห็นได้ชัด

การป้องกันโรคสมองเสื่อม

โดยส่วนใหญ่ สมองเสื่อมป้องกันได้ยากเพราะมักไม่ทราบสาเหตุ แต่สามารถลดโอกาสการเป็นสมองเสื่อมลงได้โดยดูแลสุขภาพโดยรวมให้มีความสมบูรณ์ดี ก็เป็นอีกทางที่จะช่วยป้องกันได้ ซึ่งมีแนวทางง่าย ๆ ดังนี้

  • เลิกบุหรี่ – การเลิกบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อม ที่สำคัญทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นได้
  • รับประทานอาหารสุขภาพ – จะช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรงอยู่เสมอ ลดโอกาสเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เน้นการรับประทานผักผลไม้ หรืออาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 เช่น ถั่วหรือปลา ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงสมองเสื่อมได้
  • ได้รับวิตามิน ดี อย่างเพียงพอ – จากการรับประทานอาหารเสริมหรือจากแสงแดด เนื่องจากการวิจัยพบว่า ผู้ที่มีระดับวิตามิน ดี ต่ำมีโอกาสที่จะเกิดโรคอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อมได้
  • ควบคุมน้ำหนัก – รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อลดความเสี่ยงของสมองเสื่อมรวมไปถึงโรคอื่น ๆ
  • เพิ่ม EQ ความฉลาดทางอารณ์ – ทำอารมณ์ให้แจ่มใสและเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ เพื่อเป็นการฝึกสมอง ไม่ว่าจะเป็นงานอดิเรก เช่น การอ่านหนังสือ หรือเล่นเกมเสริมทักษะความรู้ต่าง ๆ
  • รักษาระดับความดันโลหิต – ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดสมองเสื่อมบางชนิด
  • เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม –  ที่เป็นการออกกำลังกาย การเข้าร่วมกิจกรรมหรือทำกิจกรรม จะช่วยชะลอการเกิดสมองเสื่อมพร้อมทั้งลดอาการบางอย่างที่เกิดจากสมองเสื่อม หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำให้ได้ 150 นาที ต่อสัปดาห์

การป้องกัน ฟื้นฟูด้วยโอเมกา 3-6-9

ประโยชน์ของโอเมกา 3-6-9 ได้มีการทดลองกับผู้ป่วยโรคความจำเสื่อม ปรากฎว่า เมื่อได้มีการทดสอบความฉลาดด้านภาษาและกิริยาท่าทาง เช่น ความสามารถในการคำนวณ ความสามารถในการตัดสินใจ และประสิทธิภาพระดับสูงกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับ DHA เป็นเวลา 6 เดือนจะมีขอบข่ายอาการที่ดีขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ DHA  โอเมกา 3 อย่างเห็นได้ชัด 

โอเมกาช่วยให้อาการตึงเครียดลดลง นอนหลับได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคมะเร็ง โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคไขข้อเสื่อม มีประโยชน์ต่อระบบสายตาและประสาท และลดอาการซึมเศร้า รู้อย่างนี้แล้ว รีบหันมาดูแลเอาใจใส่ ผู้สูงอายุที่บ้านกันดีกว่าให้ท่านอยู่กับเราแบบนี้ไปนาน ๆ

อาหารเสริมโอเมกา 3-6-9 จากถั่วดาวอินคา แบบซอฟท์เจล บรรจุ 60 แคปซูล
อาหารเสริมโอเมกา 3-6-9 จากถั่วดาวอินคา แบบ Gift set พร้อมทุกการดูแล

กรดไขมันโอเมกา 3,6,9 เป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายช่วยเรื่องระบบการทำไหลเวียนของเลือดให้สะดวก และทำให้หลอดเลือดแข็งแรง ช่วยให้การทำงานของหัวใจให้สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้ดี ช่วยบำรุงสมองเด็กตั้งแต่แรกเกิด รวมถึงบำรุงผิวพรรณให้สดใสจากภายในสู่ภายนอก…รายละเอียดสินค้า

เพราะเราใส่ใจในความปลอดภัยของคุณ เช่นเดียวกับที่ตั้งใจผลิตอาหารเสริมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถคลิกที่นี่  www.organoid.co.th หรือเป็นเพื่อนกับเราได้ที่ Line ID. @ORGANOID (มี @) และ Facebook.com/ORGANOID.Official หรือ โทรมาได้ที่เบอร์ 092-683-6684 ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง