ไม่อยากกินน้ำมันปลา – สรรพคุณ ถั่วดาวอินคา โอเมกา 3-6-9 สูง

เมื่อพูดถึงถั่วหลายๆ คนอาจจะรู้ว่าถั่วนั้นมีสรรพคุณมากมาย ซึ่งถั่วเมล็ดเล็กๆ นั้นเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชชั้นดี แต่ยังมีอีกถั่วชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณล้นเมล็ดนั่นก็คือ ถั่วดาวอินคา  ถั่วดาวอินคาคืออะไร จะมีสรรพคุณมากมายล้นเมล็ดยังไงนั้นเราไปทำความรู้จักกับถั่วดาวอินคากันให้มากขึ้น

 

ถั่วดาวอินคา คืออะไร?

ถั่วดาวอินคา (Sacha inchi) เป็นพืชที่พบทั่วไปในแถบประเทศอเมริกาใต้ ซึ่งมนุษย์รู้จักนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่สมัยอินคา หรือในช่วงปี ค.ศ. 1438-1533 และ สืบทอดมากันมาสู่คนพื้นเมืองมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีการนำถั่วดาวอินคามาใช้ประโยชน์หลากหลาย อาทิ เมล็ดคั่วสุกใช้ทำซอส สกัดน้ำมัน หรือรับประทานเป็นอาหารคบเคี้ยว ใบใช้ประกอบอาหารเป็นต้น ทั้งนี้ จากแหล่งกำเนิด และ เคยมีชาวอินคานำมาใช้ประโยชน์ ประเทศไทยจึงเรียกถั่วชนิดนี้ว่า ถั่วดาวอินคา

 

ถั่วดาวอินคา มาจากไหน?

ถั่วดาวอินคา มาจากพืชที่เติบโตอยู่ในที่ราบ Sacha inchi ในประเทศเปรู ถั่วดาวอินคาเม็ดหนึ่งๆ มีโปรตีน 9 กรัม ไฟเบอร์ 6 กรัม น้ำมัน 14 กรัม แถมยังมีทริปโตฟาน และ กรดอะมิโนที่ช่วยรักษาสมดุลอารมณ์ ชาวเปรูนิยมนำถั่วดาวใช้ปรุงอาหารมากว่าพันปี ถั่วดาวอินคามีประโยชน์มากมาย ตรงทีเป็นแหล่งโอเมก้า 3 และ 6 พร้อมทั้งโปรตีนคุณภาพดีช่วยส่งเสริมสุขภาพ และ ป้องกันโรคได้ต่างๆ นานา ต่อไปนี้

 

สรรพคุณถั่วดาวอินคา

[dt_vc_list]เมล็ดถั่วดาวอินคานำมาคั่วรับประทาน หรือสกัดน้ำมันสำหรับประกอบอาหารหรือรับประทาน ซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิด ซึ่งในเมล็ดมีสรรพคุณหลายด้าน ได้แก่

 

  • ช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือด ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
  • ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ช่วยลดไขมันประเภทไตรกลีเซอไรด์ ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด
  • ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดคอเลสเตอรอล และ ป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยลดน้ำหนัก
  • ช่วยลดอาการซึมเศร้า กระตุ้นความจำ ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของสมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อม
  • เสริมสร้างเซลล์ และ รักษาความแข็งแรงของเซลล์
  • ป้องกัน และ ลดการอักเสบของหลอดเลือด
  • ป้องกัน และ ลดอาการของโรคไขข้อ
  • รักษาโรคผิวหนัง
  • ป้องกัน และ บรรเทาโรคหอบหืด
  • รักษาโรคไมเกรน
  • ป้องกันโรคต้อหิน ต้อกระจก ควบคุมความดันในลูกตา และเส้นเลือด
  • ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเสื่อมของเซลล์ ช่วยให้ผิวเปล่งปลั่ง แลดูอ่อนวัย
  • กระตุ้น และ ส่งเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • ตำรับยาสมุนไพรของชาวอเมซอนมีการใช้เมล็ดถั่วดาวอินคาเป็นยารักษาโรครูมาตอยด์ และ ลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
[/dt_vc_list]

แนะนำผลิตภัณฑ์จากถั่วดาวอินคา

น้ำมันดาวอินคา ดร.วิชัย
 

ถั่วดาวอินคากินอย่างไรให้อร่อยและได้ประโยชน์

วิธีกิน ให้กินส่วนของเมล็ดที่เรียกกันว่าถั่วดาวอินคา โดยกินเมล็ดที่คั่วสุกแล้วนอกจากนี้เราสามารถนำมาทานเป็นอาหารว่างร่วมกับถั่วเปลือกแข็งได้ เช่นอัลมอนด์ วอลนัท หรือสามารถใส่ในสลัด ส้มตำ ยำ หรืออาหารจานผักก็อร่อยทั้งนี้ สมาคมโรคหัวใจแห่งประเทศสหรัฐอเมริกายังสนับสนุนให้กินถั่วเปลือกแข็งวันละ 1 กำมือ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และ หลอดเลือดอีกด้วย

หนังสือ Powerful Plant-Based Superfoods : The Best Way to Eat for Maximum Health เสริมว่า ถั่วดาวอินคา 1 กำมือ (28 กรัม) นอกจากมีไขมัน โปรตีน และ สารอาหารต่างๆ สูงยังมีใยอาหารมากถึง 5 กรัม ซึ่งคิดเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการใน 1 วัน

น้ำมันดาวอินคา มีกลิ่นหอม และ รสชาติดี แต่หากนำมาทำอาหารไม่ควรทอดหรือผัดด้วยไฟแรง เพราะน้ำมันดาวอินคามีจุดเกิดควันต่ำ อาจเกิดสารก่อมะเร็งได้ ฉะนั้น น้ำมันดาวอินคา จึงเหมาะสำหรับอาหารประเภทผัดไฟอ่อนหรืออาหารที่ไม่ใช้ความร้อน เช่น การทำน้ำสลัด โดยแนะนำให้ผสมน้ำมันดาวอินคากับน้ำมะนาวในอัตราส่วน 3 ต่อ 1 พร้อมเกลือ และ พริกไทยเล็กน้อย เพื่อปรุงเป็นน้ำสลัด

 

ข้อควรระวังในการรับประทาน

ถั่วดาวอินคา มีปริมาณกรดไขมันโอเมกา 3-6-9 สูงมาก ดังนั้นจึงมีข้อควรระวังในการรับประทานดังนี้

  1. ผู้หญิงตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
  2. คนเป็นโรคเลือด / โรคโลหิตจาง / โรคธาลัสซีเมีย ไม่ควรรับประทาน
  3. หากรับประทานถั่วดาวอินคามากเกินไป เลือดจะแข็งตัวช้า
  4. โรคไต ไตวาย ไตฟอก ห้ามกิน ไตที่ไม่ถึงขั้นเปลี่ยนไตทานได้เฉพาะน้ำมันถั่วดาวอินคา
  5. คนเป็นโรคนิ่ว จะทำให้ไตทำงานหนักขึ้น หากลูกค้าท่านใดอยู่ในกลุ่มที่กล่าวมานั้น ก่อนที่จะรับประทาน ควรที่จะปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน

อ้างอิงจาก : ผศ.ดร. วิชัย ใจวิสุทธิ์หรรษา บรรยาย การเกษตรเเบบองค์รวม 3 มีนาคม 2558

 

โอเมก้า 3 ในถั่วดาวอินคา

มีรายงานคุณค่าทางโภชนาการอื่นที่ตรวจพบ ได้แก่ Omega-3 fatty acid และ Omega-6 fatty acid ที่ร้อยละ 82 จากเมล็ดถั่วดาวอินคา 100 กรัม และ พบโอเมกา 3  ที่สูงถึง 12.8-16.0 กรัม/100 กรัม รวมถึงวิตามิน E ชนิดโทโคเฟอรอล แคโรทีน โพลีฟีนอล ไฟโตสเตอรอล และ กรดอะมิโนหลายชนิด ได้แก่ ซิสเตอีน ไทโรซีน ทรีโอนีน ทริปโตฟาน

ถั่วดาวอินคา ถือว่ามีปริมาณโอเมกา 3 สูง และ สูงกว่าธัญพืชหลายชนิดรวมถึงปลาบางชนิดที่เป็นแหล่งโอเมกา 3 ในปัจจุบัน

การศึกษาผลของน้ำมันจากถั่วดาวอินคาต่อการลดระดับไขมันในเลือดกับผู้ป่วย 24 คน ที่มีปัญหาคอเลสเตอรอลในเลือดสูง โดยให้ผู้ป่วยรับประทานน้ำมันที่สกัดจากถั่วดาวอินคา 5-10 มิลลิลิตร ความเข้มข้นของโอเมกา 3 ขนาด 2 กรัม/5 ml และอีกกลุ่มรับประทาน กรดไขมันโอเมกา 3 จากน้ำมันปลานาน 4 เดือน พบว่า ทั้ง 2 กลุ่ม มีผลคอเลสเตอรอลทั้งหมด และ ไขมันที่ไม่จำเป็นในเลือดลดลง และพบว่าระดับไขมันเอชดีแอล (HDL) เพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงว่ากรดไขมันโอเมกา 3 ในน้ำมันที่สกัดได้จากถั่วดาวอินคา มีคุณสมบัติที่ดีต่อร่างกายคล้ายกับกรดไขมันโอเมกา 3 จากน้ำมันปลา ถั่วดาวอินคาจึงมีประโยชน์มากมาย ตรงที่เป็นแหล่งโอเมกา 3 และ 6 พร้อมทั้งโปรตีนคุณภาพดี ช่วยส่งเสริมสุขภาพ และ ป้องกันโรคได้ต่างๆ cr.puechkaset.com

อย่างไรก็ตาม เหรียญย่อมมีสองด้านอาหารที่ให้ผลดีต่อสุขภาพก็ยังมีผลเสียเนื่องจากมีการศึกษาเรื่องหนึ่งชื่อ A randomized, double-blind placebo-controlled study on acceptability, safety and efficacy of oral administration of sacha inchi oil (Plukenetia volubilis L.) in adult human subjects ได้รับการตีพิมพ์ในสื่อห้องสมุดของสหรัฐอเมริกา US Library of Medicine, National Institute of Health โดยให้ผู้ทดลองกลุ่มหนึ่งกินน้ำมันจากถั่วดาวอินคา และ อีกกลุ่มหนึ่งกินน้ำมันเมล็ดทานตะวัน วันละ 10-15 มิลลิลิตร นาน 4 เดือน พบผลลัพธ์ต่อสุขภาพไม่ต่างกัน ทั้งในแง่ของการลดคลอเรสเตอรอล และ ลดความดันโลหิต cr.goodlifeupdate.com

เรื่องสำคัญที่คุณควรรู้

โอเมกา 3 6 9 ในน้ำมันสกัดจาก ถั่วดาวอินคา เพียงแหล่งเดียว จึงตอบโจทย์ผู้รักสุขภาพ ในยุค 2018 ที่ต้องการความมั่นใจในประสิทธิภาพ พร้อมกับความปลอดภัย และความสะดวกในการรับประทาน และหากท่านมีโรคประจำตัว หรือมีข้อสังสัยในการใช้ผลิตภัณฑ์ “สารสกัดน้ำมัน จาก ถั่วดาวอินคา” กรุณาปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน 4 ช่องทาง คือ www.organoid.co.th , Facebook.com/ORGANOID.Official , Line ID. @ORGANOID (มี @) หรือ โทร. 092-683-6684 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงค่ะ

  • โอเมกามี 3 ชนิด คือ โอเมกา 3 6 9 ซึ่งแตกต่างกันตามชนิดของพืชและสัตว์ เช่น น้ำมันปลามีโอเมกา 3 ปริมาณสูง น้ำมันพืชทั่วไปมีโอเมกา 6 9 สูง
  • ถั่วดาวอินคาเป็นพืชชนิดเดียวที่มีโอเมกา 3 สูงกว่าน้ำมันปลา และมีโอเมกาครบถ้วนทั้งโอเมกา 3 6 9 ซึ่งเทียบเปอร์เซ็นต์รวม จะมีโอเมกาสูงกว่าที่ได้จากน้ำมันปลา 2.5 เท่า
  • โอเมกา 3 6 9 จากถั่วดาวอินคาแหล่งเดียวจึงครบถ้วนในการลดภาวะความดันโลหิตสูงและลดไขมันอุดตันเส้นเลือดได้ควบคู่กัน

กรดไขมันโอเมกา 3,6,9 เป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายช่วยเรื่องระบบการทำไหลเวียนของเลือดให้สะดวก และทำให้หลอดเลือดแข็งแรง ช่วยให้การทำงานของหัวใจให้สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้ดี ช่วยบำรุงสมองเด็กตั้งแต่แรกเกิด รวมถึงบำรุงผิวพรรณให้สดใสจากภายในสู่ภายนอก

แนะนำผลิตภัณฑ์จากถั่วดาวอินคา

คุณกังวลเรื่องปัญหาสุขภาพอยู่หรือไม่!

คุณรู้หรือไม่! ถั่วดาวอินคา มีกรดไขมันโอเมกา 3-6-9 มากกว่าน้ำมันปลาถึง 50.72% ใช้ป้องกันเบาหวาน ไขมันอุดตันเส้นเลือด เสริมพัฒนาการสมองได้

 

สนใจสั่งซื้อสินค้า / ติดต่อสอบถาม