โรคเบาหวานเป็นอีกหนึ่งโรคประจำตัวที่พบมากในประเทศไทยและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นที่น่ากังวล
อะโวคาโด ผลไม้ที่หลายคนมองข้าม เพราะด้วยรสชาติที่ไม่ค่อยหวานเหมือนผลไม้อื่นๆ และมีไขมันสูงมาก แต่รู้ไหมว่าจริงๆ แล้ว อะโวคาโด มีประโยชน์มากกว่าที่คิด เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ถูกขนานนามว่าเป็น “ซูเปอร์ฟู้ด”
โรคเบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น โดยในระยะยาวจะส่งผลให้เกิดการทำลายหลอดเลือด และ นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่รุนแรงมากขึ้น จากสถิติพบว่า ประชากรในวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คน เป็นโรคเบาหวาน และ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร้อยละ 50 ไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรค และ คุณอาจเป็นหนึ่งในนั้น การตรวจคัดกรองโรคแต่เนิ่น และ เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที จะช่วยลดความรุนแรงของอาการแทรกซ้อนจากโรคได้
ในประเทศไทยภาพรวมผู้ป่วยเบาหวานไม่น่าจะต่ำกว่า 4 ล้านคน อีกทั้งพบว่าการป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มักพบในผู้ใหญ่นั้น เป็นเพิ่มมากขึ้นในเด็กอีกด้วย
โรคเบาหวานโดยหลักๆ แบ่งเป็น 2 ชนิด
- ชนิดที่หนึ่ง (Type 1) โรคเบาหวานที่เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เลย พบบ่อยในเด็กหรือวัยรุ่นซึ่งเกี่ยวข้องกับความผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายการรักษาต้องฉีดอินซูลินตลอดชีวิต
- ชนิดที่สอง (Type 2) โรคเบาหวานที่เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน และ ตับอ่อนสร้างอินซูลินได้ไม่เพียงพอ พบบ่อยในผู้ใหญ่อายุ 40 ขึ้นไป บางครั้งไม่แสดงอาการใดๆ ซึ่งในประเทศไทยพบมากกว่า 90%
บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน
- ผู้ที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่อ้วน (มีค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI มากกว่า 25) และ มีญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน
- มีโรคความดันโลหิตสูง
- ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
- มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือมีประวัติคลอดทารกน้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม
- มีโรคหัวใจ และ หลอดเลือด
- สตรีที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่ (Polycystic Ovary Syndrome)
ข้อมูลจากสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า เนื้ออะโวคาโดมีไขมันไม่อิ่มตัวประมาณ 4 – 20 เปอร์เซ็นต์ และ กรดไขมันไม่อิ่มตัวนั้นเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงถึง 70 เปอร์เซ็นต์ จึงมีคุณสมบัติเด่นในการช่วยลดไขมันตัวร้ายในเลือด ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ และ หลอดเลือดสมองอุดตัน
อะโวคาโด ป้องกันเบาหวานได้
สรรพคุณ อะโวคาโด
อะโวคาโด ประกอบด้วยไขมันดีที่ให้พลังงาน เป็นไขมันคุณภาพสูงเต็มไปด้วยแร่ธาตุ และ สารอาหารจำเป็น และ สามารถลดเบาหวานได้อีกด้วย นักวิจัยพบว่า อะโวคาโด มีสรรพคุณเด่นในการช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และ การกินผลไม้รสมันชนิดนี้ก็ดันมีผลต่อระดับไขมันชนิดเลวในเลือด (LDL) ไขมันชนิดดีในเลือด (HDL) ระดับไตรกลีเซอไรด์ เปอร์เซ็นต์ไขมันรวมในเลือด และ กรดไขมันรวมทั้งหมดในร่างกาย…ไปในทางที่ดีซะด้วย
สารอาหาร และ ประโยชน์ ด้านสุขภาพของอะโวคาโด
เนื่องจากผลอะโวคาโดอุดมไปด้วยสารอาหาร และ วิตามินที่มีประโยชน์มากมาย เมื่อทานบ่อยๆ จึงสามารถบำรุง และ เสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงได้ดี และ ยังสามารถป้องกันโรคร้ายบางโรคได้อีกด้วย
ประโยชน์
- ลดความอ้วน แม้ว่าผลอะโวคาโดจะมีแคลอรีสูงที่ทำให้หลายๆ คน กลัวว่าทานแล้วจะอ้วน แต่ความจริงประโยชน์ที่ได้รับจากอะโวคาโด มีความตรงกันข้ามกับที่หลายคนกังวลมากทีเดียว ในอะโวคาโดมีคาร์โบไฮเดรต และ น้ำตาลต่ำ เต็มไปด้วยไฟเบอร์ และ กรดโอเลอิก จะช่วยกระตุ้นให้สมองสั่งการให้เรารู้สึกอิ่มเร็วขึ้น จึงลดการกินจุกจิกได้อย่างดีเยี่ยม
- ป้องกันโรคหัวใจ การทานอะโวคาโดเป็นประจำ สามารถป้องกันความเสี่ยงโรคหัวใจได้ และ ช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
- ลดไขมันในเส้นเลือด ในอะโวคาโดนั้นเป็นไขมันชนิดดีที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และ ช่วยลดปริมาณไขมันชนิดเลวได้ จึงนิยมทานเพื่อลดไขมันในเส้นเลือด ซึ่งเป็นอาหารที่แพทย์แนะนำให้ผู้ป่วยด้วยโรคไขมันในเลือดสูงทานมากที่สุด
- ลดน้ำตาลในเลือด อะโวคาโดมีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และ ลดน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวานได้เป็นอย่างดี จึงนิยมให้ผู้ป่วยทานควบคู่ไปกับการรักษาทางการแพทย์
- โปรตีนสูง อะโวคาโดเป็นผลไม้ที่มีโปรตีนสูงกว่าผลอื่นๆ หลายชนิด ซึ่งเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย มีเส้นใยสูง จึงสามารถช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สารอาหาร
- วิตามินอี บำรุงผิวพรรณ ลดไขมันอุดตันในเส้นเลือด
- สารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความชราภาพ ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง
- โพแทสเซียม ลดความดันโลหิต
- โฟเลท ลดความดันโลหิต
- วิตามินเอ บำรุงสายตา
- วิตามินบี แก้อาการเหน็บชา
- วิตามินซี ป้องกันโรคหวัด บำรุงฟัน
- กรดไขมันดี ชนิดไม่อิ่มตัว ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันกับน้ำมันมะกอก ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด และ ป้องกันโรคหัวใจได้
- สารแคโรทีนอยด์ต่างๆ ถึง 11 ชนิด โดยจะพบมากบริเวณเนื้อที่เป็นสีเขียวเข้มที่ติดกับใต้เปลือก
ทานอะโวคาโด อย่างไรให้ได้ผล และ ปลอดภัย
- โดยทั่วไปแล้ว การรับประทานอะโวคาโดที่ประกอบอยู่ในเมนูอาหารนั้น ถือเป็นปริมาณที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่การรับประทานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาโรค ควรปรึกษาแพทย์ และ ไม่ควรรับประทานในปริมาณมากติดต่อกันเกิน 2 ปี
- ไม่ควรใช้อะโวคาโด หรือ ผลิตภัณฑ์จากอะโวคาโดทาผิวโดยตรง ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 3 เดือน เนื่องจากอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้เล็กน้อย ดังรายงานชิ้นหนึ่งซึ่งพบอาการคันตามผิวหนังในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินจากการใช้ครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันอะโวคาโดผสมวิตามิน บี 12
- หญิงตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรควรระมัดระวังการรับประทาน หรือ ใช้อะโวคาโดเกินปริมาณที่รับประทานในชีวิตประจำวัน เนื่องจากยังไม่มีรายงานยืนยันความปลอดภัย
- ผู้ที่มีอาการแพ้ยางธรรมชาติ (Latex Allergy) อาจมีความเสี่ยงต่อการแพ้อะโวคาโดได้เช่นกัน
- การรับประทานอะโวคาโดในช่วงที่มีการรับประทานยาวาร์ฟาริน (Warfarin) อาจลดประสิทธิภาพของยาลง ผู้ที่รับประทานยาชนิดนี้เป็นประจำหรืออยู่ในช่วงการใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
แม้อะโวคาโดจะมีประโยชน์อย่างไร ก็ควรทานในปริมาณที่เหมาะสมนะคะ ทานเยอะๆ นอกจากสารอาหารจะมากเกินไปแล้ว อาจจะส่งผลเสียอื่นๆ ตามมาอีกด้วย อ้างอิงข้อมูล:acfs.go.th,pobpad,honestdocs