เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง – เสี่ยงไขมันพอกตับ

ไขมันพอกตับ โรคร้ายที่ใครๆ ก็สามารถเป็นได้ ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญ และ มีบทบาทสูงมากในการรักษาชีวิตให้เป็นปกติ ตับจะคอยทำหน้าที่คัดกรองสารต่างๆ ในร่างกาย และ ปรับสภาพให้เหมาะสมสำหรับการใช้งานในแต่ละอวัยวะ รวมทั้งเป็นแหล่งเก็บสะสมพลังงานสำรองของร่างกายด้วย

ไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) คือภาวะที่ไขมันเข้าไปแทรกที่เซลล์ของตับซึ่งหากสะสมมากกว่า 5-10% ของน้ำหนักตับ จะถือว่าเป็นภาวะไขมันพอกตับ ทำให้ตับเกิดการอักเสบ หรือเซลล์ตับตาย และ เกิดพังผืดภายในตับจนกลายเป็นโรคตับแข็งในที่สุด ซึ่งหากอาการของโรคดำเนินไปจนถึงภาวะตับแข็ง จะไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาหรือวิธีทางการแพทย์ใดๆ ทำได้เพียงควบคุมอาการ และ ลดปริมาณไขมันในตับลง โดยการดูแลสุขภาพมากขึ้นตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งปัจจุบันพบได้บ่อยในเกือบจะทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในคนอ้วน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง คนที่ดื่มสุราเป็นประจำ ผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี ซี หรือจากภูมิแพ้

 

ภาวะไขมันพอกตับแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1 มีไขมันเกาะอยู่ที่เนื้อตับ แต่ยังไม่เกิดการอักเสบ
  • ระยะที่ 2 เริ่มมีการอักเสบของตับหากปล่อยไว้นานเกิน 6 เดือน จะกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรังได้
  • ระยะที่ 3 การอักเสบรุนแรงขึ้น เซลล์ตับถูกทำลายมากขึ้น และ กลายเป็นพังผืด
  • ระยะที่ 4 เนื้อเยื่อตับถูกทำลายจนทำงานผิดปกติ กลายเป็นตับแข็ง และ อาจเป็นมะเร็งตับได้

แค่ปรับพฤติกรรมการกิน ก็ป้องกันไขมันพอกตับได้

แค่ปรับพฤติกรรมการกิน ก็ป้องกันไขมันพอกตับได้
 

ไขมันพอกตับแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ภาวะไขมันพอกตับจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol-related Fatty Liver Disease) เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป จนทำให้ตับทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และ เกิดการสะสมของไขมันที่ตับ
  2. ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Non-alcoholic Fatty Liver Disease) เกิดขึ้นจากความผิดปกติของระบบเผาผลาญ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง จนทำให้เกิดไขมันจำนวนมากสะสมอยู่ที่ตับ

อาการของไขมันพอกตับจะไม่แสดงให้เห็นตั้งแต่เริ่มแรก แต่จะเริ่มมีอาการที่เป็นผลพวงจากการที่ไขมันสะสมอยู่ในตับจำนวนมาก โดยอาการที่พบได้บ่อยคือ

  • เหนื่อย อ่อนเพลียง่าย ไม่มีแรง เบื่ออาหาร
  • รู้สึกไม่สบายท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อคลื่นไส้ 
  • น้ำหนักลดผิดปกติ ความอยากอาหารลดลง
  • มึนงง ความสามารถในการตัดสินใจ และ สมาธิลดลง
  • ปวดแน่นบริเวณใต้ชายโครงขวา
  • ท้องผูกหรือท้องเสียเป็นประจำ
  • น้ำหนักตัวลดอย่างรวดเร็ว
  • สีผิวบริเวณท้ายทอย รักแร้ และ ข้อพับดำคล้ำ หรือมีสีผิวไม่สม่ำเสมอ
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง คล้ายอาการดีซ่าน
 

การรักษา และ ป้องกันภาวะไขมันพอกตับ

  1. ลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะกระตุ้นให้ตับทำงานหนักยิ่งขึ้น
  2. ควบคุมการกินคาร์โบไฮเดรต เช่น น้ำตาล ข้าว แป้ง ผลไม้ น้ำผลไม้ เพราะหากกินเข้าไปมากแล้วเหลือใช้ ร่างกายจะเปลี่ยนไปเป็นไตรกลีเซอไรด์
  3. ควบคุมการกินอาหารกลุ่มไขมันสูง เช่น อาหารทอด รวมไปถึง อาหารแปรรูปที่มีส่วนประกอบของไขมันสัตว์ เช่น ไส้กรอก กุนเชียง แล้วหันมาเลือกกินไขมันดี เช่น กรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยลดการสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์ในตับได้
  4. เน้นการกินอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ธัญพืช ผัก และ ผลไม้ เพราะมีส่วนช่วยในการดักจับไขมัน และ ขับออกจากร่างกายก่อนถูกดูดซึม

อย่างที่บอกว่าภาวะไขมันพอกตับเป็นภัยเงียบ มักไม่แสดงอาการกระโตกกระตากให้เราได้ทราบล่วงหน้าก่อน ดังนั้นการป้องกันโรคนี้ที่ดีที่สุด คือพยายามดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้ดีไขมันพอกตับ แค่ปรับพฤติกรรมการกิน ก็ป้องกันได้ง่ายๆ แค่เลือกกิน กินดีตับดีสุขภาพดี อย่างแน่นอน อ้างอิงข้อมูล: health.kapook,honestdocs.co

แนะนำผลิตภัณฑ์จากถั่วดาวอินคา

รีวิว Organoid ผู้รับประทานน้ำมันถั่วดาวอินคา