แผลหายช้า ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง – กระเจี๊ยบแดง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเกิดจาก ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มักมีสาเหตุมาจากโรคเบาหวานเป็นหลัก เพราะผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้น มีระดับน้ำตาลสูงขึ้นได้ง่าย เนื่องจากร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ

หรือ เกิดภาวะดื้ออินซูลินทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลผิดปกติ ต่างจากคนทั่วไปที่ฮอร์โมนอินซูลินจะถูกผลิต และ หลั่งจากตับอ่อนหลังมื้ออาหาร นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดภาวะนี้ได้ง่าย เช่น ได้รับฮอร์โมนอินซูลิน หรือ รับประทานยาเบาหวานไม่เพียงพอ ไม่ควบคุมอาหาร มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตเฉื่อยชาไม่ค่อยได้ออกแรง ได้รับบาดเจ็บหรือเข้ารับการผ่าตัด รับประทานยาสเตียรอยด์ เป็นต้น

 

อาการในช่วงเริ่มต้นสังเกตได้จาก

  • ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน
  • มองเห็นไม่ชัด ,มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา หลอดเลือด หรือไต
  • ปวดศีรษะ ,คลื่นไส้อาเจียน ,ปวดท้อง มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร และ ลำไส้ เช่นท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง
  • เหนื่อยง่าย ,หายใจสั้น ,ลมหายใจมีกลิ่นคล้ายผลไม้
  • น้ำหนักลด ,อ่อนเพลีย ,รู้สึกสับสน ,กระหายน้ำมาก ,ปากแห้ง
  • แผลหายช้ากว่าปกติ , ติดเชื้อบริเวณช่องคลอด หรือผิวหนัง ,ในรายที่อาการรุนแรงอาจเป็นลม หมดสติ
  • เส้นประสาทเสียหาย ส่งผลให้มีอาการเท้าเย็นจนปวดหรือไม่มีความรู้สึก ขนขาร่วง หรือหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
 

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ น้ำตาลในเลือดสูง

  • โรคเบาหวาน
  • โรคตับอ่อนอักเสบ
  • โรคมะเร็งตับอ่อน
  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน
  • กลุ่มอาการคุชชิง (Cushing’s Syndrome) เนื่องจากร่างกายมีฮอร์โมนคอร์ติซอลในเลือดมากกว่าปกติ
  • เนื้องอกบางชนิดที่ทำให้การหลั่งฮอร์โมนผิดปกติ
  • การเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างรุนแรงหรือรวดเร็ว เช่น ภาวะหัวใจวาย

แนะนำผลิตภัณฑ์จากถั่วดาวอินคา

รีวิว Organoid ผู้รับประทานน้ำมันถั่วดาวอินคา

คุณกังวลเรื่องปัญหาสุขภาพอยู่หรือไม่!

คุณรู้หรือไม่! กรดไขมันโอเมกา 3-6-9 ถั่วดาวอินคา มากกว่าน้ำมันปลาถึง 50.72%

สั่งซื้อน้ำมันถั่วดาวอินคา

จะทำอย่างไรให้คนที่เข้ารับการรักษา สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

  • สิ่งสำคัญของเรื่องนี้คือ การดูแล และ จัดการตนเองในเรื่องอาหาร การออกกำลัง กินยา และ ฉีดอินซูลิน
  • การตรวจระดับน้ำตาลแบบสุ่มตรวจ (Random Blood Sugar) เป็นการเจาะเลือดในช่วงเวลาใดก็ได้ ค่าระดับน้ำตาลในเลือดปกติควรอยู่ที่ประมาณ 70 – 125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่จำเป็นต้องใช้วิธีอื่นช่วยยืนยันผลอีกครั้ง เนื่องจากเกิดความคลาดเคลื่อนได้สูงกว่าการตรวจอื่นๆ
  • การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting Blood Glucose) เป็นการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหาร และ น้ำเป็นเวลาอย่างต่ำ 8 ชั่วโมง มักตรวจในช่วงเช้าของวัน โดยค่าระดับน้ำตาลในเลือดปกติควรต่ำกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หากอยู่ระหว่าง 100 – 125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อาจอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และ เมื่อสูงกว่า หรือ เท่ากับ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะถือว่าเป็นโรคเบาหวาน
  • การตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (Glycohemoglobin A1c) เป็นการตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดช่วง 2 – 3 เดือนก่อนการเข้ารับการตรวจ ซึ่งค่าปกติมีระดับต่ำกว่า 5.7% หากอยู่ในช่วง 5.7- 6.4% จะมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน และ หากมีค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 6.5% ขึ้นไป แสดงว่าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
  • การทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด (Oral Glucose Tolerance Test) เป็นการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หลังการดื่มน้ำที่มีน้ำตาลกลูโคสละลายในปริมาณ และ ระยะเวลาที่กำหนด วิธีนี้นิยมใช้ตรวจโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และ ดื่มน้ำให้มากขึ้น ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
 

ผู้ป่วยเสี่ยงภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

  • กลุ่มที่ 1 – เป็นเบาหวาน แต่ไม่รู้ตัวว่าเป็น จึงไม่ได้รับการรักษา พบมากในคนที่มีอายุน้อย เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และ อีกกลุ่มที่สำคัญ คือผู้ชายที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป
  • กลุ่มที่ 2 – รู้ตัวว่าเป็นเบาหวาน ได้รับการรักษาแล้ว แต่ยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ส่วนใหญ่เป็นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาจสืบเนื่องมาจากผู้หญิงมีสัดส่วนที่เข้ารับการตรวจเบาหวานมากกว่าผู้ชาย แต่ปัญหาสำคัญ คือยังควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดีนัก โดยเฉพาะคนที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ทั้งหญิง และ ชาย

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง – กระเจี๊ยบแดง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

นอกจากการรักษาโดยแพทย์แล้ว เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ น้ำตาลในเลือดสูงได้ด้วยสมุนไพรพื้นบ้านใกล้ตัว กระเจี๊ยบแดง ซึ่งสามารถหาทาน / ดื่มได้ง่าย อร่อย ที่สำคัญสรรพคุณเยอะมากอีกด้วย นั้นคือ กระเจี๊ยบแดง

มีผลของการวิจัยออกมาว่าการ ดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดง เข้ามาในร่างกายของเรานั้นจะมีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น สารแอนโธไซยานินส์ ที่มีอยู่ในกระเจี๊ยบจะมีคุณสมบัติเพื่อมาช่วยป้องกันมะเร็ง ชะลอความแก่ ลดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และ ไขมันชนิดเลวที่จะมาทำให้ร่างกายของเรานั้น มีน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น จนกระทั่งอ้วนนั้นเอง

ถิ่นกำเนิดของ กระเจี๊ยบแดง อยู่ในแถบแอฟริกาตะวันตก จากนั้นได้มีการนำกระเจี๊ยบแดงมาปลูกในประเทศแถบเส้นศูนย์สูตรทั่วไป ต้นกระเจี๊ยบ จะชอบแดดจัด และ จะเติบโตได้ดีในดินที่มีความชุ่มชื้นพอเหมาะ ดังนั้นกระเจี๊ยบจึงปลูกในบ้านเราได้สบายๆ กลายเป็นพืชสมุนไพรที่หาง่ายมากๆ ในต่างประเทศพบว่า มีการใช้ในแนวทางที่สอดคล้องกับของคนไทย เช่น อียิปต์ ใช้กลีบเลี้ยงดอกกระเจี๊ยบต้มกินรักษาความดันโลหิตสูง ใช้ทั้งต้นต้ม กินรักษาโรคหัวใจ และ โรคประสาท และ ใช้เป็นยาระบายไขมันในลำไส้ ประเทศกัวเตมาลา ใช้กลีบเลี้ยงต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ ลดการอักเสบของไต ส่วนชาวอินเดียใช้ใบต้มกิน เพราะเชื่อว่าจะทำให้เลือดบริสุทธิ์ หรือ ใช้ใบตากแห้งต้มกินช่วยแก้ไอ

 

คุณค่าทางโภชนาการ และ ประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดง

  • พลังงาน 49 กิโลแคลอรีรูปกระเจี๊ยบแดง
  • คาร์โบไฮเดรต 11.31 กรัม
  • ไขมัน 0.64 กรัม
  • โปรตีน 0.96 กรัม
  • วิตามินเอ 14 ไมโครกรัม 2%
  • วิตามินบี 1 0.011 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินบี 2 0.028 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 3 0.31 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินซี 12 มิลลิกรัม 14%
  • ธาตุแคลเซียม 215 มิลลิกรัม 22%
  • ธาตุเหล็ก 1.48 มิลลิกรัม 11%
  • ธาตุแมกนีเซียม 51 มิลลิกรัม 14%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 37 มิลลิกรัม 5%
  • ธาตุโพแทสเซียม 208 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุโซเดียม 6 มิลลิกรัม 0%

ประโยชน์

  • ลดไข้ ,แก้ไอ ละลายเสมหะ – ในกระเจี๊ยบมีสารพฤกษเคมี ที่สำคัญ คือ สารต้านอนุมูลอิสระ ทั้งสารในกลุ่มฟีนอลิก สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ และ สารในกลุ่มแอนโธไซยานิน ซึ่งจากข้อมูลทางวิชาการแสดงให้เห็นว่า สารพฤกษเคมีดังกล่าว มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ลดไข้ และ ต้านการอักเสบ นอกจากนี้วิตามินซีในกระเจี๊ยบ ยังมีส่วนช่วยเสริมความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายด้วย
  • แก้กระหายให้ร่างกายสดชื่น – ดอกกระเจี๊ยบมีรสเปรี้ยว เพราะมีวิตามินซี และ กรดซิตริก จึงช่วยขับน้ำลาย และ แก้กระหาย
  • ลดไขมันในเลือด – ส่วนเมล็ดของกระเจี๊ยบแดงมีสรรพคุณช่วยลดไขมัน และ คอเลสเตอรอลในเลือด โดยนำเมล็ดกระเจี๊ยบตากแห้งมาบดให้เป็นผง จากนั้นนำมาชงกับน้ำร้อน หรือ ต้มน้ำดื่ม ช่วยลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด ขับน้ำดี แก้ปัสสาวะขัดได้
  • ป้องกันโรคหัวใจ – ดอกกระเจี๊ยบมีสีแดง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยทำให้เลือดไม่หนืด ช่วยลดไขมันเลวในเส้นเลือด จึงป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัว ป้องกันหัวใจขาดเลือด และ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
  • ป้องกันโลหิตจาง –  กระเจี๊ยบแดงมีธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่สำคัญของฮีโมโกลบิน อีกทั้งความเป็นกรดของสารพฤกษเคมีช่วยเพิ่มการดูดซึม และ การกระจายแร่ธาตุต่างๆ ในร่างกายส่งผลให้กระเจี๊ยบแดงช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางได้
  • ลดน้ำตาลในเลือด – จากการศึกษากับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับชากระเจี๊ยบแดง 3 กรัม ชงกับน้ำร้อน 150 มิลลิลิตร ติดต่อกันเป็นเวลา 1 เดือน พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของอาสาสมัครลดลงสูงสุดจาก 162.1 เป็น 112.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จากกลไกทางชีวภาพของสารพฤกษเคมีที่ช่วยลดการย่อย และ การดูดซึมน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว และ โมเลกุลคู่ผ่านการยับยั้งเอนไซม์แอลฟา – อะไมเลส และ แอลฟา – กลูโคซิเดส
  • ลดความดันโลหิต – จากการศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครที่มีความเสี่ยงภาวะความดันโลหิตสูง โดยให้อาสาสมัครดื่มชากระเจี๊ยบแดง 1.25 กรัม ชงกับน้ำร้อน 240 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า ความดันโลหิตของอาสาสมัครลดลง 7.2 มิลลิเมตรปรอท (ขณะหัวใจบีบตัว) และ 3.1 มิลลิเมตรปรอท (ขณะหัวใจคลายตัว)
 

ข้อควรระวังในการบริโภคกระเจี๊ยบแดง

  • ในผู้ชาย หากบริโภคกระเจี๊ยบแดงในปริมาณที่มากเกินไป มีผลต่อการสร้างอสุจิ และ จำนวนอสุจิที่ลดลง
  • ผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องก็ไม่ควรทานกระเจี๊ยบแดง
  • สตรีมีครรภ์ และ สตรีให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการกินกระเจี๊ยบแดงติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือมากเกินไป

สรรพคุณมากมายก็ย่อมมีข้อเสียเช่นกัน การบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมจะส่งผลดีต่อร่างการ หากมากเกินไป หรือ มีความเชื่อผิด ๆ ที่ว่ามีประโยชน์มากต้องบริโภคมาก ๆ นั้น อาจจะส่งผลเสียที่คาดไม่ถึงก็ได้ อ้างอิงข้อมูล: health.kapook,pobpad,medthai

แนะนำผลิตภัณฑ์จากถั่วดาวอินคา